วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

พนม นพพร




ประวัติ


ชื่อจริง ชาตรี ชินวุฒิ
ชื่อเล่น โอ
เกิด 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 (อายุ 62 ปี)อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุร
อาชีพ นักร้อง นักแสดง ผู้สร้างภาพยนตร์
ผลงานเด่น พ.ศ. 2509 - ปัจจุบัน
แนวเพลง เพลงลูกทุ่ง
ส่วนเกี่ยวข้อง วงดนตรีจุฬารัตน์

พนม นพพร เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชายเสียงดี ใบหน้าหล่อเหลาชาวเมืองน้ำเค็ม ที่สามารถร้องเพลงได้ดีทั้งแนวสนุกสนาน และแนวหวานซึ้ง พนม นพพร โด่งดังอย่างมากจากเพลง “ ลาสาวแม่กลอง “ นอกจากนั้นก็ยังมีเพลงฮิตติดหูผู้ฟังอีกมากมายหลายเพลง พนม นพพร ยังมีฝีมือในด้านการแสดงภาพยนตรอีก ด้วย โดยได้ฝากฝีมือไว้ในด้านการแสดงภาพยนตร์หลายเรื่อง และเมื่อประสบการณ์ด้านการแสดงมีมากขึ้น พนม นพพร ก็ยังหันมาเอาดีทางด้านการสร้างภาพยนตร์เอง และก็ประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ปัจจุบันพนม นพพร ยังหันมาจับธุรกิจจัดรายการโทรทัศน และตั้งค่ายเพลง ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอีกเช่นกัน และนับเป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งที่ประสบความสำเร็จในแวดวงธุรกิจมากที่สุดอีก คนหนึ่งของเมืองไทย
พนม นพพร มีชื่อจริงว่า ชาตรี ชินวุฒิ มีชื่อเล่นว่า โอ เกิดเมื่อ 27 พ.ค.2489 เกิดที่ ต.หนองตำลึง อ.พานทอง จ.ชลบุร ในครอบครัวที่มีฐานะไม่ลำบากนัก โดยครอบครัวมีที่นาไว้ให้เช่า และมีร้านกาแฟ เขามีพี่น้อง 4 คน โดยเป็นคนที่ 3 พนม นพพร จบการศึกษาชั้นมัธยม 6 (ระบบเก่า) จากโรงเรียนพัฒนศิลป์ ที่ จ. ชลบุรี และไม่ได้เรียนต่อเพราะว่าอยากเป็นนักร้องลูกทุ่ง แม้ว่าพ่อแม่อยากให้รับราชการมากกว่าก็ตาม
เข้าสู่วงการ

พนม นพพร ชื่นชอบเพลงลูกทุ่งอย่างมาก โดยมีสาเหตุมาจากการชอบไปดูรำวง และฟังวิทย ซึ่งในสมัยนั้นก็นิยมเปิดเพลงลูกทุ่งอย่างมาก จากนั้นก็เริ่มหัดร้องโดยยึดแนวของนักร้องมากมายหลายคน อาทิ คำรณ สัมบุณณานนท , ชาย เมืองสิงห ,พร ภิรมย ,ไพรวัลย์ ลูกเพชร , ไวพจน์ เพชรสุพรรณ พนม นพพร เคยตระเวนประกวดตามเวทีประกวดมาบ้าง แต่ปรากฏว่า ไม่เคยชนะเลย ในระหว่างนั้น ก็เคยขึ้นไปร้องเชียร์รำวงอยู่บ้าง โดยได้ค่าร้องคืนละ 20 บาท เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้กับคณะรำวงชื่อดังแห่งยุคนั้นอย่างเช่นวงดาวน้อย และดาวทอง ต่อมา วงดนตรีของเทียนชัย สมยาประเสริฐ มาเปิดการแสดงแถว ต. บางพระ จ.ชลบุรี และมีการประกวดร้องเพลง ซึ่งพนม นพพร ก็ไปประกวด แต่ในงานนี้ เป็นการประกวดแบบอัดเทป ไม่มีการประกาศผลทันที แต่จะประกาศผลทางสถานีวิทยุในภายหลัง ซึ่งก็ปรากฏว่า พนม นพพร เป็นผู้ที่ได้รับชัยชนะ ประจวบกับช่วงนั้นเขาจบการศึกษาแล้ว ก็จึงเก็บเสื้อผ้าเข้ากรุงเทพ ฯ โดยมาอยู่ที่บ้านของเทียนชัย สมยาประเสิรฐ เพื่อฝึกร้องเพลง และร่วมวงดนตรี ซึ่งที่นี่เขาได้บันทึกเสียงเพลงแรกชื่อเพลง “ลมร้อน “ ผลงานการประพันธ์ของ อรุณ รุ่งรัตน ขณะที่พนม นพพร ใช้ชื่อว่า พนาวัลย์ ลูกเมืองชล ซึ่งเพลงนี้ก็ทำให้เขาเป็นที่รู้จักพอสมควร แต่อยู่ได้ไม่นานวงเทียนชัยก็แตก เนื่องจากลูกวงแยกย้ายกันไปตั้งวงเอง

เมื่อ ไม่มีที่ให้สังกัด พนม นพพร จึงต้องหาเลี้ยงชีพโดยการไปเป็นนักร้องสลับฉากให้กับคณะลิเก รวมทั้งวงดนตรีอื่นๆ ทั้งเพลิน พรมแดน , นิยม มารยาท และอื่นๆ ต่อมามีผู้ชวนไปสมัครอยู่กับวงจุฬารัตนของ ครูมงคล อมาตยกุล ปรากฏว่าครูไม่รับ โดยให้เหตุ ผลว่านักร้องเต็ม พนม นพพร จึงพยายามอีกด้วยการร้องเพลงให้ฟัง ครูก็ยังไม่รับ พนม นพพร จึงต้องเสนอตัวเป็นเด็กรถประจำวง และรับใช้นักร้องในวง แค่พอให้มีข้าวกินไปวันๆ ซึ่งครูก็ตอบตกลง

ระหว่าง ที่วงไปเดินสายแถวอีสาน เมื่อจะไปแสดงที่ อ. ชุมแพ นักร้องเริ่มป่วยกันมากขึ้น ทางวงเกรงว่า โปรแกรมการแสดงจะไม่พอ จึงนำเอาพนม นพพร ที่ต้องทำหน้าที่เก็บตั๋ว ไปร้องเพลงคร่าเวลา โดยให้ร้องเปิดวงเป็นคนแรก ซึ่ง พนม นพพร ก็ได้ร้องเพลง อนิจจา ของโฆษิต นพคุณ ปรากฏว่าเป็นที่ถูกอกถูกใจของคนในวงและผู้ชมอย่างมาก แต่ชีวิตของเขาหลังจากนั้น ก็ยังเหมือนเดิม เมื่อลงจากเวทีก็ยังต้องไปทำงานระดับล่างต่อไป แต่เขาก็ได้ร้องเพลงเปิดวงครั้งละ 1 เพลงมาตลอด

เมื่อ กลับมากรุงเทพฯ วันหนึ่ง นักร้องดังๆในวงต้องไปอัดแผ่นเสียง ซึ่งพนม นพพร ก็ตามไปรับใช้ด้วย ปรากฏว่าวันนั้น ราวตี 3 ก็อัดเสร็จแล้ว ซึ่งถือว่าเร็วมาก ครูมงคล อมาตยกุล เห็นว่าพอมีเวลาเหลือ จึงเรียกพนม นพพร มาลองซ้อมเพลง ตอนนั้น สรวง สันติ ได้แต่งเพลงให้พนม นพพร เพลงหนึ่ง เขาจึงนำเพลงนี้มาเสนอครูมงคล ปรากฏว่าซ้อมไปซ้อมมาครูเกิดชอบ จึงเขียนโน้ตให้นักดนตรี และ บันทึกเสียงกันในตอนนั้นเลย เพลงนี้มีชื่อว่า “ สุขีเถิดที่รัก “ ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างมาก

จากนั้น เมื่อพนม นพพร มีอายุประมาณ 20 ปี ก็มีโอกาสบันทึกเสียงอีก 2 เพลง เพลงแรกชื่อ “ อัดอั้นตันใจ “ ของลพ บุรีรัตน (ตอนนั้นใช้ชื่อ กนก เกตุกาญจน์ ) ส่วนอีกเพลง พนม นพพร บอกว่าเขาไม่ค่อยชอบ เพราะไม่ใช่แนวของเขา แต่ครูมงคลแนะนำว่า ยิ่งไม่ชอบยิ่งต้องใช้ความพยายาม แต่เพลงนี้ก็เป็นเพลงที่สร้างชื่อให้พนม นพพร ขึ้นมาอยู่ในชั้นแนวหน้าของวงการลูกทุ่งไทย โดยเพลงนั้นก็คือเพลง “ ลาสาวแม่กลอง “ ที่แต่งโดย เกษม สุวรรณเมนะ

เข้าสู่วงการภาพยนตร์

พนม นพพร อยู่กับวงจุฬารัตน์มานานหลายปี จนความนิยมที่มีต่อวงค่อยๆลดลงไป ครูมงคล อมาตยกุล จึงยุบวง ชินกร ไกรลาศ ซึ่งตอนนั้นก็ได้เข้าสู่วงการภาพยนตร์ไปก่อนแล้ว ก็ชวน พนม นพพร ไปเป็นตัวประกอบประเภทวิ่งผ่านหน้าฉาก ซึ่งเขาก็ร่วมแสดงอยู่หลายเรื่องจนได้พอมีบทบาทบ้างในภาพยนตร์เรื่อง “ ลมรักทะเลใต้ “ จากนั้นก็มีบทดีๆเรื่อยๆ

ขณะ เดียวกัน เมื่อภาพยนตร์ดัง เพลงที่เขาร้องประกอบภาพยนตร์ก็ดังตามไปด้วย จนในที่สุดเขาก็ตัดสินใจตั้งวงดนตรีพนม นพพร ออกเดินสายแสดงดนตรีร่วมกับงานด้าน การแสดงไปด้วย วงพนม นพพร เดินสายอยู่ 5 – 6 ปี ก็ยุบวง

หลังจาก ที่พอมีประสบการณ์เกี่ยวกับวงการภาพยนตร์อยู่บ้าง พนม นพพร ซึ่งมั่นใจในความสามารถของตน ทั้งด้านการแสดง การเขียนบท การตัดต่อ ก็ลองสร้างภาพยนตร์เรื่องแรกดูบ้าง ชื่อ “ คมนักเลง “ เป็นภาพยนตร์แนวบู๊ มี สมบัติ เมทะน และ อรัญญา นามวงศ นำแสดง แต่เมื่อสร้างเสร็จ ภาพยนตร์บู๊ตกยุคไปแล้ว พนม นพพร จึงล้มเหลวในงานสร้างภาพยนตร์ แต่เขาก็ไม่ท้อ เมื่อมีการสร้างต่อในเรื่องที่ 2 ชื่อ “ คุณพ่อขอโทษ “ ที่มี ไพโรจน์ สังวริบุตร และ ลลนา สุลาวัลย นำแสดง ปรากฏว่าเรื่องนี้พอประสบความสำเร็จอยู่บ้าง แต่พอถึงเรื่องที่ 3 คือ “ จับกัง “ ที่มี สรพงษ์ ชาตร นำแสดง พนม นพพร ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ได้ทั้งเงินและกล่อง สมความตั้งใจ จากนั้นพนม นพพร ก็สร้างภาพยนตร์เพิ่มอีก 2 – 3 เรื่อง

ปัจจุบัน

หลัง ประสบความสำเร็จในแวดวงภาพยนตร์ พนม นพพร ก็หันมาจับธุรกิจโทรทัศน์โดยการเปิดบริษัท นพพร โปรโมชั่น เพื่อซื้อรายการโทรทัศน์เพื่อนำมาให้เช่าเวลาเปิดเพลงของค่ายต่างๆ และเรื่องนี้ก็เป็นสาเหตุให้เขาต้องเปิดค่ายเพลง อย่างนพพร ซิลเวอร์โกลด ตามมา โดยปัจจุบัน นพพร ซิลเวอร์โกลด์ มีนักร้องอยู่ในสังกัดกว่า 20 คน เช่น อัศวิน สีทอง , สาลี่ ขนิษฐา , แมงปอ ชลธิชา , อร อรด และอื่นๆ

ในส่วนของงานเพื่อสาธารณะ พนม นพพร ยังเป็นนายกสมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทยด้วย โดยเขาดำรงตำแหน่งนี้มา 7 – 8 ปีแล้ว

ผลงานเพลงดัง
  • ลาสาวแม่กลอง
  • ตุ๊กติก
  • เซิ้งสวิง(สัญญา จุฬาพร)
  • ฮักสาวขอนแก่น
  • ข้าวเหนียวติดมือ(ช.คำชะอี)
  • เขียนจดหมายส่งมา
  • 11 ไฮโล(สรวง สันติ)
  • นักร้องพเนจร(ณรงค์ โกษาผล)
  • หนุนขอนต่างแขน(สรวง สันติ)
  • ใต้เงาโศก
  • สุขีเถิดที่รัก
  • สาวทุ่งในกรุงเทพฯ
  • ฮักสาวลาวพวน
  • ตะวันลับฟ้า
  • ฟ้ากับดิน
  • อัดอั้นตันใจ
  • ดอกฟ้า
  • พิมพ์จ๋าพิมพ์
  • ทะเลร่ำไห้
  • น้องจ๋า
  • คนขี้อาย
  • ตารางดวงใจ
ผลงานการสร้างภาพยนตร์
  • คมนักเลง
  • คุณพ่อขอโทษ
  • จับกัง
  • หมามุ่ย
  • อุ๊ยเขิน

มนต์สิทธิ์ คำสร้อย




ประวัติ


ชื่อจริง บุญเถิง แก้วศรีนวน
เกิด 30 เมษายน พ.ศ. 2511 (อายุ 40 ปี)ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
ชื่ออื่น มนต์สิทธิ์ คำสร้อย
อาชีพ นักร้อง
ปีที่แสดง พ.ศ. 2538 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่น สั่งนาง (2539)
จดหมายผิดซอง (2539)
แนวเพลง ลูกทุ่ง
ค่าย ชัวร์ออดิโอ

มนต์สิทธิ์ คำสร้อย เป็นนักร้องลูกทุ่งแนวอีสานชื่อดัง เขามีลูกคออันเป็นเอกลักษณ์ และอยู่ในวงการเพลงมานานกว่า 10 ปีแล้ว โดยที่ยังคงมีผลงานเพลงออกมาอย่างสม่ำเสมอ มนต์สิทธิ์ โด่งดังมาจากเพลง " ขายควายช่วยแม่ " และความดังทะยานขึ้นถึงขีดสุดจากเพลง " สั่งนาง " และ "จดหมายผิดซอง "
มนต์สิทธิ์ คำสร้อย มีชื่อจริงว่า บุญเถิง แก้วศรีนวน เกิดเมื่อ 30 เม.ย. ที่ ต.นาอุดม อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร เป็นบุตรนายหนูลาและนางยุ้น แก้วศรีนวน เกษตรกรปลูกปอและมัน ที่ มีฐานะยากจน มนต์สิทธิ์จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านทรายไหลแล้ง และหลังจบการศึกษา ก็เดินทางเข้ามาทำงานที่กรุงเทพ โดยหวังจะได้เป็นนักร้องตามคาเฟ่ แต่ก็ได้เป็นแค่เด็กรับรถ และพนักงานเสิร์ฟ แม้ในบางโอกาสเขาจะได้ขึ้นร้องเพลงบ้าง ตอนที่นักร้องขาด ทำให้เขายังต้องตระเวนประกวดร้องเพลงตามที่ต่างๆ
เข้าวงการ

การประกวดครั้งหนึ่งที่มนต์สิทธิประทับใจอย่างมาก ก็คือครั้งที่เขาชนะที่ 2 ในการประกวดรายการ ใหญ่ที่ทุ่งศรีเมือง จ. อุบลธานี เพราะที่นี่เขาได้พบกับ มนต์รัก กลิ่นบุปผา นักจัดรายการวิทยุของที่นี่ ซึ่งติดใจเสียงของเขา จึงนำตัวมาอุปการะที่บ้าน และทำเพลงให้ เพื่อนำไปเสนอตามค่ายเพลงต่างๆ แต่ก็ได้รับการปฏิเสธเสมอ ส่วนมากมักจะได้รับการติติงเรื่องหน้าตาว่าไม่หล่อ ไม่มีจุดขาย ประกอบกับช่วงนั้นมนต์สิทธิมีวัยมากถึง 29 ปีแล้ว สถานการณ์จึงยิ่งสิ้นหวังไปกันใหญ่ ภายหลังจึงหายุทธวิธีใหม่โดยการส่งเฉพาะเทปเสียงเข้าไปก่อน โดยไม่ส่งรูปตามไป ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ เมื่อนายห้างบริษัทชัวร์ออดิโอสนใจเสียงของเขา และแม้ต่อมาจะเห็นหน้าตาคนร้อง ก็ตกลงใจรับโดยให้เหตุผลว่าสงสาร ที่เขามีหน้าตาจ๋อยๆจืดๆ และด้วยเหตุนี้นี่เอง ที่นับตั้งแต่ที่เข้าวงการวันแรกจนถึงปัจจุบัน มนต์สิทธิ์ยังไม่เคยย้ายสังกัดแต่อย่างใด


หลังซุ่มทำเพลงอยู่นาน 2 ปี มนต์สิทธิก็ผลิตผลงานชุดแรกชื่อ " ขายควายช่วยแม่" ออกมา ก่อนจะออกเดินสายไปกับวงของสมจิตร์ บ่อทอง ซึ่งตอนนั้นกำลังโด่งดังเพื่อโปรโมตผลงานเพลง และเพื่อฝึกงานด้านหน้าเวที

และ นับตั้งแต่นั้น มนต์สิทธิ์ คำสร้อย ผู้มีลูกคอไม่เหมือนใคร ที่มากับภาพลักษณ์การเป็นคนซื่อๆของเขา ก็กลายเป็นชื่อที่รู้จักกันไปทั่วฟ้าเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่เขาส่งผลงานเพลงชุดที่ 2 ออกมา

ผลงานเพลง

ผลงานเดี่ยว

  • ขายควายช่วยแม่ (ก.พ.2538)
  • สั่งนาง (มี.ค.2539)
  • คิดถึงจังเลย(ส.ค.2540)
  • โกสัมพี (ก.ย.2541)
  • กำลังใจ (พ.ย.2542)
  • ดอกไม้ให้คุณ (มี.ค.2544)
  • ผ้าปูเตียง (มี.ค.2545)
  • หมอลำมนต์สิทธิ (ธ.ค.2546)
  • ร้องเสียให้พอ (ม.ค.2547)
  • อกหักตอนพักยก (ต.ค.2548)
  • กล่อมเมือง (ต.ค.2550)

ผลงานรวมฮิต

  • มนต์เพลงยอดฮิต (ม.ค.2540)
  • รวมฮิตสะท้านจิต (ม.ค.2541)
  • มนต์เพลงยอดฮิต ชุด 2 (ต.ค.2541)
  • ฮิตตลอดกาล (ก.ค.2543)

ผลงานกลุ่ม

  • ชัวร์ชะชะช่า ชุดที่ 1 (ธ.ค. 44)
  • ชัวร์ชะชะช่า ชุดที่ 2 (ธ.ค. 44)

ร่วมกับ ดำรง วงศ์ทอง, เกษม คมสันต์, สำราญ บุญลาภ, ฝน ธนสุนทร , อัมพร แหวนเพชร และ บุญตา เมืองใหม่

  • ชัวร์ชะชะช่า ชุดที่ 3 (ต.ค. 45)
  • ชัวร์ชะชะช่า ชุดที่ 4 (ต.ค. 45)

ร่วมกับ ดำรง วงศ์ทอง, เกษม คมสันต์, สมชาย ไทรงาม, อัมพร แหวนเพชร, ฝน ธนสุนทร ,บุญตา เมืองใหม่ และแอร์ สุชาวดี

  • จดหมายรักจากชัวร์ (ส.ค.46)

ร่วมกับดำรง วงศ์ทอง ,เกษม คมสันต์ , สมชาย ไทรงาม , ฝน ธนสุนทร , บุญตา เมืองใหม่ และแอร์ สุชาวดี

  • โอเคลูกทุ่ง(ต.ค.2549)

ร่วมกับดำรง วงศ์ทอง และเกษม คมสันต์

  • ทัวร์ชมทุ่ง(ก.พ. 50)

ร่วมกับดำรง วงศ์ทอง

ผลงานเพลงคู่

  • เกี่ยวก้อย (ส.ค. 43)
ผลงานเพลงดัง
  • ขายควายช่วยแม่
  • สั่งนาง
  • จดหมายผิดซอง
  • อกหักตอนพักยก
  • อิจฉา ดีเจ
  • คนนอกสายตา
  • กำลังใจ
  • กลัว
  • ในฝัน
  • ผู้ผิดหวัง
  • โกสัมพี
  • คิดถึงจังเลย
ชีวิตครอบครัว
ในระหว่างที่ มนต์สิทธิ์ กำลังโด่งดังสูงสุด ได้เกิดกรณีที่สาวน้อยนางหนึ่ง อ้างว่าลูกน้อยของเธอเกิดมาจากมนต์สิทธิ์ โดยทั้งสองมีความสัมพันธ์กันในระหว่างที่เธอทำงานเป็นหางเครื่องในวงดนตรีสม จิตร์ บ่อทอง และมนต์สิทธิ์เป็นนักร้อง หลังจากผลการพิสูจน์ยืนยันว่าเด็กเป็นลูกของเขาจริง มนต์สิทธิ์แสดงความรับผิดชอบด้วยการดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็ก แต่โดยดี
เกียรติยศ
  • รางวัล“พระพิฆเนศทองพระราชทาน” ครั้งที่ 1 ประเภท ผู้ขับร้องเพลงลูกทุ่งยอดนิยม จากเพลง “ขายควายช่วยแม่” (ปี 2539)
  • “บุคคลแห่งปี 2539” ( Man of the year’96) จากนสพ. เดอะ เนชั่น
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำครั้งที่ 11 (2 มีนาคม 2540) สาขามิวสิกวิดีโอดีเด่น จากเพลง “จดหมายผิดซอง”
  • รางวัลครอบครัวขวัญใจประชาชน จากการจัดของ บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส จำกัด (มหาชน) ในงาน "ครอบครัวในดวงใจ" ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2540
  • รางวัล“พระพิฆเนศทองพระราชทาน” ครั้งที่ 2 ประเภท ผู้ขับร้องเพลงลูกทุ่งยอดนิยมจากเพลง “สั่งนาง” (ปี2540)
  • "ผู้แต่งกายดีเด่น" ประจำปี 2540 จากการคัดเลือกของสมาคมช่างตัดเสื้อไทย ประเภทบันเทิง สาขานักร้อง
  • มิ วสิกวิดีโอดีเด่นเพลง “ขายควายช่วยแม่” , เพลง “สั่งนาง” และเพลง “กำลังใจ” ร้องโดย “มนต์สิทธิ์ คำสร้อย” จากการคัดเลือกของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาต (สวช.) เมื่อวันพุธที่ 29 สิงหาคม 2544

อาภาพร นครสวรรค์




ประวัติ

ชื่อจริง จันทร์เพ็ญ คงประกอบ
ชื่อเล่น ฮาย
เกิด 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 (อายุ 40 ปี)
ประเทศไทย นครสวรรค ประเทศไทย
อาชีพ นักร้อง, นักแสดง
แนวเพลง ลูกทุ่ง


อาภาพร นครสวรรค์ เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิง ที่โดดเด่นในเพลงแนวจังหวะสนุกสนาน ตลกโปกฮา ในระยะหลังเธอยังเสริมด้วยการโชว์ของหางเครื่องและแดนเซอร์ในสไตล์แปลกแหวก แนว จนทำให้บางครั้งก็ถูกติติงจากบางฝ่ายออกมาบ้าง อาภาพร นครสวรรค์ กลายเป็นนักร้องที่เป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วประเทศจากเพลง " เลิกแล้วค่ะ "

อาภา พร นครสวรรค์ มีชื่อจริงว่า จันทร์เพ็ญ คงประกอบ มีชื่อเล่นว่า ฮาย เป็นชาว ต.บ้านไร่ อ.ลาดยาว จ. นครสวรรค์ เป็นลูกสาวคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน ของ นายบุญช่วยและนางกิมเล้ง คงประกอบ ที่ประกอบอาชีพทำนาทำไร่ทำสวน และมีฐานะยากจนมาก เธอเกิดเมื่อ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 จบการศึกษาชั้น ประถมปีที่ 6 จากโรงเรียนสวนหลวง นครสวรรค์ เธอชื่นชอบการร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ และเคยใฝ่ฝันที่จะเป็นนักร้องอย่างพุ่มพวง ดวงจันทร ที่เคยไปดูเมื่อครั้งพุ่มพวงมาเปิดการแสดงที่อำเภอ อาภาพรได้อาศัยงานวัด งานขึ้นบ้านใหม่ หรืองานรื่นเริง เพื่อเป็นเวทีของการขึ้นไปร้องเพลงเพื่อแสดงความสามารถ จนในที่สุดก็ได้เข้าประกวดร้องเพลงในปี พ.ศ. 2528 ที่สถานีวิทยุ ว.ป.ถ.9 ที่นครสวรรค์ ในเวที "คนเก่งของแม่"

ใน ปี 2529 เมื่ออายุได้ 18 ได้ขอพ่อมาสมัครเป็นนักร้อง แต่ก็ต้องตื๊ออยู่เป็นเดือนกว่าจะได้รับอนุญาต หลังได้รับอนุญาต เธอได้มาสมัครเป็นหางเครื่อง และนักร้องคั่นเวลาประจำวงของบริษัทบ๊อกซิ่ง ซาวด์ ที่มีพุ่มพวง ดวงจันทร์ อยู่ในสังกัดด้วย เธอจึงออกเดินสายไปกับพุ่มพวง ในระยะนั้น อาภาพร ยังประกอบอาชีพเสริมด้วยการขายอาหารหลังเวทีด้วย จนกระทั่ง สรรเสริญ รุ่งเสรีชัย เจ้าของบริษัทบ๊อกซิ่งซาวด์ เห็นแวว และแม้จะติงว่าหน้าเธอไม่ค่อยทันสมัยอยู่บ้าง ในปี 2531 ก็ได้ให้เธอบันทึกเสียง โดยใช้ชื่อ น้องนิด ศิษย์บุญโทน และร้องเพลงแปลงแนวตลกโปกฮา ชุด "บังมิดเลย"

ปี 2534 เธอเปลี่ยนมาใช้ชื่อ อาภาพร นครสวรรค์ กับงานเพลงชุด "น้ำตาหล่นปนน้ำเหล้า" หลังจากออกเทปแล้ว ก็ได้เป็นนักร้องเดินสายไปกับนักร้องคนอื่นๆ เช่น ยิ่งยง ยอดบัวงาม, เอกชัย ศรีวิชัย,พรศักดิ์ ส่องแสง จันทรา ธีรวรรณ นานถึง 9 ปี แต่ไม่ดังสมใจสักที จนกระทั่งตั้งใจจะเลิกจากวงการไปประกอบอาชีพเสริมสวย หรือ เปิดร้านอาหารตามแนวทางชีวิตที่วางไว้

แต่ แล้วโชคก็เข้าข้าง เมื่อในปี พ.ศ. 2539 งานชุดที่ 9 "เลิกแล้วค่ะ" ประสบความสำเร็จ เปรี้ยงปร้างทั่วประเทศ จนทำให้มีงานโชว์ตัวทั้งในเมืองไทย และต่างประเทศมากมาย ส่งให้ชื่อเสียงของ อาภาพร นครสวรรค์ ขึ้นสู่อันดับนักร้องแถวหน้า อย่างเต็มความภาคภูมิ จวบจนถึงปัจจุบัน



ผลงานเพลง

  • บังมิดเลย
  • น้ำตาหล่นปนน้ำเหล้า
  • เลิกแล้วค่ะ
  • อารมณ์เสีย
  • ฉันกลัวหลักสี่
  • ฮาย..เลี้ยวขวา
  • เชพบ๊ะ

ผลงานเพลงดัง

  • เลิกแล้วค่ะ
  • เชพบ๊ะ
  • ห๋า..อะไรนะ
  • อารมณ์เสีย
  • ฉันกลัวหลักสี่
  • ชอบไหม
  • กลัวเมียไหม
  • ไม่มีเมียยกมือมา
  • น้ำตาหล่นปนน้ำเหล้า

ผลงานการแสดง

  • Super แหบ-แสบ-สะบัด (2551)
  • เทวดาตกมันส (2551)
  • บ้านผีเปิบ (2551)
  • บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม
  • มนต์เพลงลูกทุ่ง
  • คนเยอะเรื่องแยะ
  • เจาะเวลาหาโก๊ะ

ปัจจุบัน
อาภาพร นครสวรรค์ ตั้งบริษัท ฮายโชว์ เพื่อผลิตผลงานเพลงของตนเอง และรับจัดงานแสดงโชว์ โดยผลงานเพลงชุดแรกที่บริษัทผลิต ก็คือชุด "เชพบ๊ะ"
ครอบครัว
ความโดดเด่น ไม่มีใครเหมือนของอาภาพร นครสวรรค์อีกเรื่องหนึ่งก็คือการที่เธอ เป็นผู้รับผิดชอบดูแลญาติพี่น้องคนในครอบครัวที่มากถึง 20 ชีวิตอย่างไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย
เกียรติยศ

  • ดุษฏีบัณทิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎ นครสวรรค์ ด้านการแสดง
  • รางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมจากหนังเรื่อง"บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม"
  • เป็นตัวแทนภาคกลางไปร้องเพลงในงานเอเชี่ยนเกมส์ที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพ พ.ศ. 2541

รุ่ง สุริยา




ประวัติ

ชื่อ นามสกุลจริง ณรงค์ แซ่วี
เป็นคนพิษณุโลก เกิดที่อำเภอบางระกำ วันที่ 14 กรกฎาคม 2513 เรียนหนังสือถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วไม่ได้เรียนต่อ เขารักการร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ ขึ้นเวทีประกวดร้องเพลงมาอย่างโชกโชน โดยเฉพาะในแนวเพลงของ ยอดรัก สลักใจ จนกระทั่งขึ้นเวทีประกวดของแอ็ดเทวดา แล้วได้รางวัลชนะเลิศ เด็ดดวง ดอกรัก จึงสนับสนุนให้เป็นนักร้องอัดแผ่นเสียง ได้ชื่อร้องเพลงว่า ดุษฎี ดอกรัก เริ่มต้นจากบันทึกเสียงเพลงอมตะก่อน เช่น น้ำตาลก้นแก้ว รอยไถแป แม่ค้าตาคม ชวนน้องแต่งงาน ฯลฯ มีเพลงของตัวเองบ้างแต่ยังไม่ดังมาก
ชีวิตรุ่งกลับมาสะดุดตกอับ ขาดคนสนับสนุน จากนักร้องอัดแผ่นเสียง กลายเป็นเพียงนักร้องตามห้องอาหารเล็ก ๆ หาเลี้ยงปากท้องไปวัน ๆ อย่างไร้อนาคต จนกระทั่งได้พบกลับ พร พนาไพร อดีตศิษย์เอกของครูสุรพล สมบัติเจริญ พร ชอบใจเสียงจึงชวนให้มาอัดแผ่นเสียงอีก และตั้งชื่อให้ใหม่ว่า รุ่ง สุริยา เขาบันทึกเสียงเพลงชุด วอนพ่อตากสิน
ในปี พ.ศ. 2540 พอมีคนรู้จัก ต่อมาเจนพบ จบกระบวนวรรณ นักจัดรายการวิทยุคลื่นลูกทุ่งเอฟ เอ็ม แต่งเพลงรักจริงให้ติงนังให้ ครั้งแรกที่ รุ่ง สุริยา รวมทั้ง นภดล บุษปะเกษ และกันยารัตน์ เตชะวิเศษ ผู้สนับสนุนได้เพลงไป ทุกคนไม่เข้าใจว่าคืนเพลงอะไรและหมายความว่าอย่างไร โดยเฉพาะรุ่งเองเกือบจะไม่ร้องเพลงนี้ เพราะคิดว่าเป็นเพลงไม่มีสาระ แต่พอลองร้องเพลงดูหลายเทียวจึงรู้สึกถึงความแปลกใหม่ แล้วเพลงรักจริงให้ติงนังก็เป็นเพลงดังระเบิด สร้างชื่อรุ่ง สุริยา ให้เป็นสุภาพบุรุษลูกทุ่ง อย่างเต็มภาคภูมิมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เขาได้รับรางวัลพระพิฆเนศทองจากเพลงวอนพ่อตากสิน และเป็นนักร้องชายยอดเยี่ยมแห่งปี เจ้าของรางวัลมาลัยทอง จากเพลงของพ่อเจนพบ จบกระบวนวรรณ
รุ่งมีผลงานเพลงดัง ๆ มากมาย เช่น รักนี้ที่เซเวน เฝ้ารักเฝ้ารอ เสน่ห์ลูกทุ่ง ฯลฯ
เคยแสดงภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายเรื่อง มีเพลงประกอบละครเด่น ๆ หลายเพลง

เขาเป็นนักร้องที่มีชื่อว่า หน้าเวทีทะเล้น แต่น่ารักที่สุดของวงการ

ไมค์ ภิรมย์พร




ประวัติ


พร ภิรมย์ พินทะปะกัง หรือ ไมค์ ภิรมย์พร เกิดเมื่อ 8 กรกฎาคม 2513 ที่ จ.อุดรธานี เป็นบุตรนายสม - นางซ่อนกลิ่น พินทะปะกัง ครอบครัวมีอาชีพทำไร่ทำนา รับจ้างทั่วไป และมีฐานะยากจนอย่างมาก ไมค์ ภิรมย์พร เคยต้องรับจ้างตัด
ฟืนขาย เพราะนาแล้ง ทำได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไมค์ ภิรมย์พร หาเงินมาใช้ซื้อข้าวกิน และเจียดส่วนหนึ่งไว้ใช้ในการศึกษาภาคค่ำจนจบการศึกษ าชั้น มัธยมศึกษาที่ 3 เขาชอบร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก และใฝ่ฝันที่จะเป็นนักร้อง โดยเมื่อมีงานที่ไหน เขาจะขึ้นไปร้องเป็นประจำ
เมื่ออายุประมาณ 17 - 18 ปี ไมค์ ภิรมย์พร เดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อมาหางานทำและได้ทำงานเป็นกร รมกรก่อสร้าง แถวบางบอน เขาทำอยู่ 3 - 4 เดือน ตอนเย็นหลังเลิกงาน ไมค์ ภิรมย์พร ชอบขึ้นไปบนดาดฟ้า เป่าขลุ่ยแซวสาวโรงงานทด และระบายความเหงา กับความติดถึงบ้าน ก่อนที่เขาจะเดินทางกลับบ้านนอกเมื่องานหมด และหันไปทำงานรับจ้าง ทำไร่ทำนาตามเดิม
พออายุ 23 เขาก็กลับมาเมืองหลวงอีก โดยคราวนี้มาเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของบริษ ัทแห่งหนึ่งแถวสุขุมวิท 71 แต่เขาไปพักอยู่กับเพื่อนที่ช่องนนทรี ช่วงที่รองานอยู่นั้น เขาต้องอดมื้อกินมื้อ กินเฉพาะยามที่หิวจริงๆ และอาหารหลักก็คือกล้วย หลังจากนั้นราว 2 อาทิตย์เขาก็ได้งาน ตอนแรกถูกส่งไปประจำที่โรงงานยาแถวลาดกระบัง ซึ่งที่พักกันดารมาก เขาอยู่ได้เดือนกว่า ก็ย้ายมาอยู่ที่นาซ่า ดิสโก้เธค แถวคลองตัน ซึ่งโด่งดังมากในขณะนั้น โดยทำหน้าที่ตรวจตราความเรียบร้อย และโบกรถอำนวยความสะดวก ในช่วงวันหยุดเขาก็จะรับจ๊อบเป็นเด็กรับรถแขกที่มาเท ี่ยวนาซ่าด้วย รวมเวลาสำหรับการเป็นยามของเขาก็ประมาณ 7-8 เดือน
ระหว่างที่เป็นยาม เขาได้รู้จักกับเจ้าของผับที่เปิดด้านล่างนาซ่า ก็เลยฝากเนื้อฝากตัวขอเป็นเด็กเสิร์ฟ เพื่อให้ได้เข้าใกล้ความฝันเรื่องการเป็นนักร้องของเ ขา เพราะที่นี่เขาได้เจอดารา นักร้องชื่อดัง ที่มาเที่ยวและมาเปิดผับแถวนั้นมากมาย
ระหว่างที่เป็นเด็กเสิร์ฟ เขาช่วยดูแลนักดนตรีวง THE JET ที่เล่นอยู่ที่ผับเป็นพิเศษ เลยได้รับความเอ็นดูจากนักดนตร
ีเป็นพิเศษ และวันหนึ่ง จอห์น นูโว กับ โจ นูโว ก็มาติดต่อวงดนตรีของนักดนตรีเหล่านี้ไปเล่นแบ็คอัพใ ห้กับใหม่ เจริญปุระที่ออกผลงานเพลงชุดแรกชื่อ " ใหม่ ไม้ม้วน " นักดนตรีเหล่านี้ก็เลยชวนเขาไปเป็นเด็กประจำวงด้วย โดยทำหน้าที่หลังเวทีทุกอย่าง ทั้งขนหรือติดตั้งเครื่องดนตรี ซึ่งไมค์ ภิรมย์พร ก็ยินดีที่ได้ร่วมงาน และไม่สนใจเรื่องค่าจ้าง เพราะอยากเข้าไปใกล้วงการบันเทิงอยู่แล้ว เวลาว่างเขาก็ชอบไปยืนดูใหม่ร้องเพลง และฝันอยากจะเป็นเช่นนั้นบ้าง
วันหนึ่งนักดนตรีแนะนำให้รู้จักกับนักจัดรายการคนหนึ ่งชื่อสุพจน์ สุขกลัด ที่เป็นทั้งดีเจ และโปรดิวเซอร์ให้กับสมหมายน้อย ดวงเจริญ หมอลำชื่อดังในสมัยนั้น เขาเลยได้ไปเทสต์เสียง และได้เป็นลูกศิษย์ของสุพจน์ คอยติดสอยห้อยตาม และรับใช้ ทั่วไปเช่นเช่นรดน้ำต้นไม้ และล้างจาน อาจารย์สุพจน์ บอกว่าจะให้เขาบันทึกเสียง แต่หลังจากนั้นไม่นาน อาจารย์ก็ออกจากบริษัทค่ายเทป และหันมาทำร้านอาหาร ไมค์ ภิรมย์พร ก็ตามอาจารย์มาด้วย โดยมาช่วยเสิร์ฟ ต่อมาก็พัฒนามาเป็นกุ๊ก ระหว่างนั้นเขาเคยไปช่วยสมหมายน้อยร้องประสานเสีนยง และร้งเพลงโฆษณาเตาแก๊สลัคกี้เฟลม กับทำเดโมเอาไว้ชุดหนึ่ง เป็นเพลงที่เขาแต่งเองเพลงหนึ่งกับที่อาจารย์สุพจน์แ ต่งอีกเพลง
แต่หลังสุพจน์ ที่ทำร้านอาหารต้องปิดกิจการ ไมค์ ภิรมย์พร ที่ต้องระเหเร่ร่อน ก็เลยติดต่อไปยังลูกพี่เก่าซึ่งก็คือนัก
ดนตรีที่เคยเ ล่นดนตรีให้ใหม่ เพื่อของานทำ เขาก็เลยได้ทำงานเป็นเด็กตักน้ำแข็ง และล้างแก้วอยู่ที่ผับในโรงแรมนารายณ์ และด้วยความขยันทำให้เขาเลยได้เลื่อนตำแหน่งมาเป็นบา ร์เทนเดอร์ และได้เป็นหัวหน้าบาร์ในที่สุด ซึ่งที่นี่เขามีโอกาสได้ร้องเพลงโชว์ความสามารถด้วย แต่ต่อมาผับก็ต้องปิดกิจการไป
หลังจากเห็นเพื่อนทำงานเป็นพนักงานห้องน้ำในผับแห่งห นึ่งได้ทิปดีวันละ 2 - 3 พัน เขาก็เลยขอทำบ้าง แต่ทำได้พักหนึ่งผับก็ปิดอีก ไมค์ ภิรมย์พร รู้สึกท้อ เลยอยากทำกิจการของตัวเอง เขาจึงนำเงินที่เก็บไว้มาซื้อรถเข็น
โต๊ะ เก้าอี้ เพื่อขายลาบส้มตำ ต่อมาก็ขายลูกชิ้นปิ้งแถวซอยโชคชัย 4 ตรงข้ามโรงพยาบาลสยาม ที่นี่เขาเจอกับการไล่จับของเทศกิจเป็นประจำ
ต่อมาทราบข่าวว่าทางบริษัทอาร์เอสประกาศรับสมัครนักร ้องลูกทุ่ง เขาจึงนำเดโมเทปไปส่ง แต่หลายวันผ่านไป ปรากฏว่าทางบริษัทยังไม่ได้ฟังเดโมของเขา เขาจึงนำมันกลับมา เพื่อหวังนำไปเสนอที่ใหม่
อยู่มาวันหนึ่ง ไมค์ ภิรมย์พร อ่านข่าวบันเทิงในหน้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และเห็นข่าวที่บอกว่าบริษัทแกรมมี่ประกาศลุยตลาดลูกท ุ่งเต็มตัว เขาจึงอยากลองสมัครเป็นนักร้อง ก็เลยได้ไปหานักดนตรีที่รู้จักกันให้ช่วยแนะนำให้ ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำให้นำเดโมเทปไปให้อาจารย์ จรัล สารีวงษ์ โปรดิวเซอร์ของแกรมมี่ ราว 2 สัปดาห์ เขาก็ถูกเรียกตัวมาเทสต์เสียง ซึ่งเขาก็ทำได้ดี เพราะเทคเดียวผ่าน จากนั้นประมาณครึ่งเดือนต่อมา อ.จรัล ก็โทรบอกว่า เขาอาจจะมีสิทธิ และเมื่อเขามาที่บริษัทก็ได้เซ็นสัญญาเป็นศิลปินลูกท ุ่งคนแรกของแกรมมี่
สำหรับชื่อ ไมค์ ภิรมย์พร นั้น ตอนแรกหลายคนเรียกเขาว่าสมหมาย เพราะเขาชอบร้องเพลงหมอลำของสมหมายน้อย ดวงเจริญ ต่อมาในสมัยที่ทำงานอยู่ที่โรงแรมนารายณ์ การที่เขาชอบเต้น เหมือนไมค์ ไทสัน นักมวยที่กำลังดังในยุนนั้นเต้นฟุตเวิร์ค เขาก็เลยถูกเปลี่ยนมาเรียกว่าไมค์ และในที่สุด ก็กลายเป็นไมค์ ภิรมย์พร โดยสมบูรณ์เมื่อมาอยู่กับแกรมมี่
ไมค์ ภิรมย์พร มีผลงานชุดแรกชื่อ " คันหลังก็ลาว " แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ พอถึงชุดที่ 2 มีเพลงที่เริ่มเป็นที่รู้จักของแฟนเพลงอย่าง ละครชีวิต และเพลงละครชีวิตนี้ ก็เกือบทำให้ไมค์ ภิรมย์พร ได้รับรางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทานในฐานะนักร้องยอดเ ยี่ยม
แต่ใน 2 ชุดหลังจากนั้น บริษัทเปลี่ยนแนวให้เขามาร้องหมอลำ เพราะมองว่าเขาน่าจะเข้ากับเพลงแนวสนุกสนาน แต่ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ในชุดต่อมา เขาจึงต้องเปลี่ยนแนวอีกครั้ง มารับบทนักร้องแนวคนสู้ชีวิต
ในเพลง ยาใจคนจน และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นความโด่งดัง เป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วประเทศ จนถึงทุกวันนี้ ในฐานะนักร้องขวัญใจผู้ใช้แรงงาน

สุขสันต์ วันสว่าง




ประวัติ

สุขสันต์ วันสว่าง เป็นนักร้องลูกทุ่งชายจากแดนใต้ ที่ค่อนข้างแปลก เพราะเขาถูกโฉลกอย่างมากกับเพลงเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงของรุ่งเพชร แหลมสิงห นักร้องลูกทุ่งชื่อดังเจ้าของเพลง “ฝนเดือนหก” ทำให้เขาจำเป็นต้องไปเอาเพลงเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงของรุ่งเพชรมาขับร้องใหม่อยู่เสมอ เพราะเป็นที่ถูกใจของแฟนเพลง แม้ว่าเจ้าตัวจะพยายามผลิตผลงานใหม่ที่เป็นแนวของตัวเองออกมาตั้งแต่เริ่ม เข้าวงการ หรือหลังจากที่โด่งดังจากเพลงของรุ่งเพชรแล้วก็ตาม ปัจจุบัน สุขสันต์ วันสว่าง ยังคงร้องเพลงอยู่ แม้ว่าจะเคยหายหน้าไประยะหนึ่ง

สุขสันต์ วันสว่าง มีชื่อจริงว่า สมชาย คำราม เกิดเมื่อปี 2506 เป็นชาว จ. พัทลุง ครอบครัวมีฐานะไม่ค่อยดีนัก โดยมีอาชีพทำนาและประมง เมื่อตอนที่เรียนชั้นประถมเขาเป็นนักร้องประจำโรงเรียน แต่พอเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเขาก็เลิกเป็น เพราะหันมาช่วยพี่ชายที่จับงานขายเครื่องสำอางแบบขายตรงตามหมู่บ้าน นอกจากนั้นเขาก็ยังเคยทำงานก่อสร้างกับโครงการชลประทานแถวบ้านเกิด

เมื่อ จบชั้นมัธยมปลาย ได้เข้ามาเรียนต่อระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยมาอาศัยอยู่กับพี่สาว แต่ด้วยความเกรงใจ เขาจึงย้ายออกมาอยู่ตามลำพัง จึงต้องรับผิดชอบดูแลตัวเอง เขาหาเงินใช้ด้วยการเป็นเซลส์ขายเครื่องตัดไป จึงต้องยอมให้ไฟดูดวันละหลายสิบครั้ง ตอนที่ไปสาธิตสินค้าให้ลูกค้าดู

ต่อ มา เขาได้เป็นนักร้องประจำวงลูกทุ่งสุโขทัยของมหาวิทยาลัย และการที่รุ่งเพชร แหลมเปี๊ยบ นักร้องประจำวงลาออกไปเล่นตลก เขาจึงเข้ามารับชื่อรุ่งเพชร แหลมเปี๊ยบ ต่อด้วย จากนั้นก็ย้ายมาอยู่กับวงลูกทุ่งม๋อหร๋อ ในช่วงนั้น เพื่อนของเขาที่มีมอเตอร์ไซค์ จะคอยหาข่าวว่าที่ไหนมีการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ทั้งสองก็จะพากันไปตระเวนประกวดทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนรางวัลที่ได้ ก็จะนำมาแบ่งกัน ทำให้เขามีรายได้อีกทางหนึ่ง สุขสันต์ วันสว่าง กวาดรางวัลจากการประกวดเหล่านี้มากกว่า 70 รางวัล

จาก นั้นเขาก็ถูกแมวมองพาเข้าสังกัด พีจีเอ็ม และทำเพลงลูกทุ่งแนวปักษ์ใต้ออกมา 3 ชุดรวด โดยเขาเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า พร พัทลุง แต่เหมือนมีกรรมมาบัง ขณะที่กำลังเตรียมจะลงไปโปรโมตเพลงที่ภาคใต้ ก็เกิดปัญหาน้ำท่วม โครงการนี้จึงต้องเลิก สุขสันต์ วันสว่าง ที่อดดัง จึงเลิกราจากวงการไปราว 1 ปีด้วยการไปเรียนต่อ แทรกด้วยการแอบไปประกวด และร้องเพลงตามร้านอาหาร ซึ่งในช่วงนี้ เขาก็เริ่มรู้ตัวแล้วว่าเสียงของเขามีร่องเสียงเดียวกันกับของรุ่งเพชร แหลมสิงห์ เพราะเมื่อเขาร้องเพลงรุ่งเพชร แขกที่มากินอาหารจะชอบเป็นพิเศษ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ เขาจับแนวเพลงของเสรี รุ่งสว่างเป็นหลัก

ต่อ มา รุ่นพี่ซึ่งทำงานอยู่กรมศุลกากรได้มาพบ และได้ชวนเขาทำผลงานเพลงอีก พร้อมกับได้ตั้งบริษัทชื่อ สหนนท์ซาวด์ ก่อนที่จะผลิตผลงานเพลงออกมาชุดหนึ่งชื่อ “ รับจำนำเมียน้อย “ โดยเขาใช้ชื่อว่า สุขสันต์ เกรียงไกร หลังจากที่ครูเพลงๆไปได้แนวคิดมาจากป้าย สุขสันต์วันเกิด ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง แต่หลังจากที่ทดลองปล่อยผลงานออกไป ได้รับเสียงตำหนิจากบรรดาชาวเมียน้อยอย่างมาก และเมื่อมีเวลาน้อยในการแก้ไข เพราะมีการจองเวลารายการวิทยุต่างๆเอาไว้แล้ว จึงเสนอแนวคิดให้นำเพลงเก่ามาทำใหม่ จึงออกมาเป็นเพลงรุ่งเพชร 5 เพลง โดยมีเพลงสงกรานต์บ้านนาเป็นเพลงเด่น และเพลงใหม่ 5 เพลง ปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว มียอดสั่งเทปเข้ามามาก แต่ทางนายทุนซึ่งเป็นเพียงข้าราชการกรมศุลกากรไม่มีเงินทุนในการสั่งปั้มเทป ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถเบิกเงินจากทางบริษัทออนป้า ที่เป็นผู้จัดจำหน่ายไม่ได้ เพราะสัญญาระบุว่าจะเบิกได้หลัง 3 เดือน สุขสันต์ วันสว่างจึงไม่ได้เกิดอีกเป็นครั้งที่ 2

หลัง จากที่ช้ำใจครั้งแล้วครั้งเล่า สุขสันต์ วันสว่าง ได้หันหน้าเข้าหาวัด และบวชสงบจิตสงบใจนานถึง 2 ปี โดยก่อนที่จะบวช ก็ได้นำผลงานที่เขาบันทึกเสียงไว้ในชุดก่อนๆไปฝากไว้กับ ศักดิ์ ปากพนัง ซึ่งมีเส้นสายในวงการลูกทุ่ง เมื่อเขาสึกออกมา ศักดิ์ ปากพนัง ก็ได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษากับทางบริษัทโฟร์เอส ซึ่งทางบริษัท ก็เรียกเขามาทดสอบโดยการให้ขึ้นร้องในงานคอนเสิร์ตใหญ่ของบริษัท และงานนี้สุขสันต์ วันสว่าง ก็ขึ้นร้องในเพลงของรุ่งเพชร เจ้าตัวบอกว่าการที่ได้พักผ่อนมาเต็มที่ระหว่างที่เป็นพระ ทำให้วันนั้นเขาร้องเพลงได้ดีที่สุดในชีวิต เมื่อเดินลงจากเวที เขาก็ถูกเรียกตัวให้มาเซ็นสัญญาเป็นเวลา 7 ปีทันที และเปลี่ยนชื่อมาเป็นสุขสันต์ วันสว่าง

สุข สันต์ วันสว่าง นำเพลงสงกรานต์บ้านนามาบันทึกเสียงอีกครั้ง โดยอยู่ในชุด “ ฝากย่าฝากยาย “ ซึ่งมีออกมาทั้งหมด 3 ชุด จากนั้นก็หันมาทำเพลงใหม่ชุดหนึ่ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จึงหันกลับมาทำเพลงเก่า ชุด “ควันหลงสงกรานต์ “ออกมาอีก 2 ชุด

จาก นั้นสุขสันต์ วันสว่าง เกิดมีปัญหาส่วนตัวบางประการ จึงหยุดงานเพลง และหันมาทำคาเฟ่ และค่ายเพลงแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเมื่อมีปัญหากับผู้ร่วมหุ้น

ปัจจุบัน
ต่อมาเขาได้พบกับนายตำรวจผู้หนึ่ง ซึ่งสนับสนุนให้เขากลับมาร้องเพลงอีกครั้ง พร้อมทั้งจัดหาทุนมาให้ เขาจึงผลิตผลงานออกมาอีก 1 ชุดชื่อ “ สุขสันต์มาแล้ว ชุดที่ 1 “ในปี 2550 ซึ่งก็เป็นเพลงเก่าในแนวของรุ่งเพชรอีกเช่นกัน

สิทธิพร สุนทรพจน์



ประวัติ

สิทธิ พร สุนทรพจน์ มีชื่อจริงว่า ณรงค์ รจพจน์ มีชื่อเล่นว่า "บาง" เป็นคนอำเภอจังหาญ จังหวัดร้อยเอ็ด เขาเกิดในครอบครัวเกษตรกรยากจน ได้รับการศึกษาน้อย แต่ชอบเสียงเพลงรวมทั้งการร้องเพลงลูกทุ่งและหมอลำเป็นชีวิตจิตใจ เขาเข้าร่วมในการประกวดร้องเพลงอยู่บ่อยครั้ง เมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่นได้มาสมัครเป็นนักร้องอยู่กับคณะหมอลำคณะหนึ่ง แต่ถูกส่งไปทำหน้าแบกกลองอยู่ราว 1 ปี จึงลาออกมาอยู่บ้าน ต่อมาก็ได้สมัครเข้าเป็นนักร้องในวงหมอลำของ ไกรศร เรืองศรี และก็ได้ทำงานร้องเพลงหน้าเวทีตามที่ฝัน

ใน ช่วงที่พักวง ทางวงได้หาตัวนักร้องในวงที่จะส่งไปบันทึกเสียงหมอลำ และทางวงก็มีมติส่ง สิทธิพรไปบันทึกเสียง แต่หลังจากที่ซักซ้อมมานานราว 6 เดือน เขาก็ได้รับข่าวร้าย เมื่อนายทุนที่ให้การสนับสนุนตัดสินใจที่จะไม่ทำเพลงหมอลำ

หลังจากที่พลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย สิทธิพรก็ตัดสินใจหันมาเป็นนักร้องคาเฟ ตามร้านอาหารหลายแห่งอยู่นานถึง 2 ปี และมาวันหนึ่ง แขกที่มาเที่ยวคนหนึ่งได้เรียกเข้ามาพบ และบอกว่าถ้าอยากบันทึกเสียง ก็ให้ไปพบที่บ้าน โดยไม่ยอมบอกชื่อเสียงเรียงนาม และเมื่อสิทธิพร ไปพบแขกคนนั้นที่บ้านก็จึงได้รู้ว่าคือ ดอยอินทนนท นักแต่งเพลงชื่อดัง หลังการซักซ้อมการร้องเพลงกับครูได้ราว 1 ปีก็ได้มีการเรียกให้ สมบัติ เมืองอุบล มาฟังเสียงของนักร้องคนนี้ ซึ่งก็ปรากฏว่าเป็นที่ถูกใจ และสิทธิพร สุนทรพจน์ ก็ได้มีผลงานเพลงเป็นของตัวเองเป็นชุดแรก เมื่อปี พ.ศ. 2540 และมีต่อๆ มาจนถึงชุดที่ 10 ในปัจจุบัน
ผลงาน

  • เพชรภูธร (2540)
  • ยูเทิร์นหัวใจ
  • ช้ำรักจากอุบล
  • ห้องนอนคนช้ำ
  • บูชาใจ
  • ผ้าป่าพาปลิว
  • คู่มันส์สนั่นทุ่ง(คู่กับสุดา ศรีลำดวน)
  • ลีลาลูกทุ่งเพลงดัง
  • ปลอบใจคนช้ำ
  • เดือนหลายดวง (2550)

เพลงที่เป็นที่รู้จัก

  • ลุงขาดป้า
  • ช้ำรักจากอุบล
  • ห้องนอนคนช้ำ
  • น้องเมย์คนใหม่
  • เนาะน้องเนาะ
  • เดือนหลายดวง
เกียรติยศ
นักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม ปี 2544 (สตาร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ อวอร์ด ครั้งที่ 1 )ของสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิง จากเพลง "ห้องนอนคนชํ้า" จากอัลบั้ม "ห้องนอนคนชํ้า"

อ้อยใจ แดนอีสาณ




ประวัติ

สงเมือง คิดเห็น หรือ อ้อยใจ แดนอีสาน เป็นชาว จ.ชัยภูมิ มีพี่น้อง 6 คน ครอบครัวมีฐานะยากจนอย่างมาก จึงไม่มีใครมีโอกาสได้ร่ำเรียนหนังสือสักคน เธอจึงอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่ได้ ( เพิ่งจะมาเริ่มหัดอ่านหัดเขียนเอาเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ) ตอนเด็ก ๆ บ้านที่อยู่นั้นก็ต้องอาศัยที่ดินข้างป่าช้าวัดสว่างอารมณ์เป็นแหล่งพักพิง รายได้หลักของครอบครัวก็ได้มาจากการทำอาชีพเผาถ่านและเดินเร่ขายไปตามหมู่ บ้านต่าง ๆ

เธอ เป็นเด็กที่ชอบร้องเพลงมาก ดังนั้นเวลาหาบถ่านไปขาย ก็จะร้องเพลงไปด้วย เรียกว่าเป็นกลยุทธ์ในการขายก็ว่าได้ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่จะช่วยซื้อถ่านเพราะชอบใจในเสียงเพลง และเมื่อถูกชมบ่อย ๆ แถมถูกยุจากหลาย ๆ คนที่บอกว่าเสียงของเธอดี น่าจะไปลองสมัครเป็นนักร้อง จึงทำให้เด็กสาวขายถ่านมอมแมมอย่างเธอที่เป็นคนขี้เหร่ ตัวดำ ความรู้ก็ไม่มี เกิดความฝันเรื่องการเป็นนักร้อง

แต่เมื่อพ่อล้มป่วยและเสียชีวิต แม่ต้องแบกรับภาระหาเลี้ยงลูก ๆ ทุกคนเพียงลำพังคนเดียว อาชีพเผาถ่านขายจึงมีรายได้ไม่พอเพียงสำหรับเลี้ยงดูคนในบ้านทั้งหมด อ้อยใจจึงออกไปทำงานเป็นลูกจ้างร้านอาหารโต้รุ่ง เพื่อแลกกับเงินเดือนเดือนละ
150 บาท

เมื่อเธอมีอายุประมาณ
12 - 13 ปี วงดนตรีบรรจบ เจริญพร เดินทางมาเปิดการแสดงใกล้กับที่เธอทำงานอยู่ เธอจึงไปสมัครเป็นนักร้อง แต่บรรจบ เจริญพรไม่รับ โดยบอกว่านักร้องเต็ม แต่เหตุผลที่แท้จริงอาจจะเป็นเพราะว่าเธอไม่สวย ตัวดำ แต่หางเครื่องในวงคนหนึ่งเกิดสงสาร จึงแนะนำให้เธอหอบผ้าหอบผ่อน แอบติดรถของทางวงเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯหลังวงจบการแสดง แล้วเธอจะช่วยพูดกับหัวหน้าวงเรื่องการเป็นนักร้องให้ ซึ่งอ้อยใจก็ทำตาม

เมื่อรถมาถึงกรุงเทพฯในช่วงดึก หางเครื่องคนนั้นบอกให้เธอนั่งรออยู่ที่ป้ายรถเมล์ เพราะไม่สามารถพาไปค้างที่บ้านได้ ตกลงแล้วคืนแรกในเมืองกรุงของอ้อยใจ นักร้องสู้ชีวิตต้องนอนอยู่ที่ป้ายรถเมล์

แต่ ก็ยังดีที่ในตอนสาย หางเครื่องคนนั้นมารับเธอตามที่ได้สัญญาไว้ แต่เมื่อพามาพบกับบรรจบ เจริญพร อีกครั้ง เธอก็ยังถูกปฏิเสธอยู่ดี แต่ยังโชคดีอยู่บ้างที่เธอยังมีที่อยู่ที่กิน เมื่อบรรจบ เจริญพร ให้เธอไปช่วยเลี้ยงลูกอยู่ที่บ้านในซอยบุปผาสวรรค์

แต่ ดูเหมือนว่า การทำงานเป็นคนรับใช้หัวหน้าวงของเธอจะไม่ค่อยเป็นที่ถูกใจของภรรยาบรรจบ เจริญพร เธอจึงถูกลงโทษอยู่บ่อยครั้งจากความผิดต่างๆนาๆ

ระหว่างนั้น ปรากฏว่าทางวงบรรจบ เจริญพรขาดนักร้องพอดี เขาจึงถามเธอว่าร้องเพลงได้แน่หรือเปล่า ซึ่งเธอยืนยันว่าทำได้ จากนั้นก็จึงมีการเริ่มทดลองร้องดู แต่ช่วงที่ทดสอบก็ปรากฏว่าบรรจบ เจริญพรเมาพอดี ก็เลยไม่ได้สนใจฟังเธอร้องเพลง เธอก็เลยอดเป็นนักร้อง


และ หลังจากที่ถูกนายผู้หญิงลงโทษเมื่อถูกจับได้ว่าเธอแอบเอาเสื้อผ้าของเจ้าของ บ้านมาลองสวมใส่ เพื่อสวมบทเป็นนักร้องหน้ากระจก เธอจึงตัดสินใจลาออกจากที่นั่นมาพร้อมกับชุดนักร้องชุดหนึ่งที่หางเครื่องคน ที่รู้จักให้มา โดยที่ไม่รู้ว่าจะไปไหน เพราะไม่รู้จักใครเลย เงินก็ไม่มี เธอเดินไปเรื่อย ๆ อย่างไร้จุดหมาย และนึกน้อยใจในโชคชะตา จนเดินมาถึงสะพานพุทธ ก็คิดจะกระโดดสะพานพุทธฆ่าตัวตาย พอดีไปเจออาซิ้มหน้าตาเหมือนแม่มาห้ามไว้ เธอก็เลยกลับใจ

จาก นั้นเธอก็มาขอมาอาศัยอยู่กับอาซิ้มคนดังกล่าวที่อาศัยทำมาหากินด้วยการร้อย พวงมาลัยอยู่ใต้สะพาน โดยเธอมีหน้าที่ช่วยอาซิ้มขายพวงมาลัย แต่รู้สึกเบื่อหน่ายเมื่อถูกเด็กเกเรแถวนั้นแกล้ง ก็เลยออกจากอาซิ้มมา จากนั้นเดินเข้าร้านตัดผมชายเพื่อตัดผมปลอมตัวเป็นเด็กผู้ชาย เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง ก่อนที่จะเข้าไปขอข้าวก้นบาตรพระรูปหนึ่งที่วัดดงมูลเหล็กกินแก้หิวในค่ำคืน หนึ่ง จากนั้นก็ขออยู่เป็นเด็กวัด รับใช้หลวงพ่อรูปนั้น โดยโกหกว่า จำทางกลับบ้านไม่ได้ และเมื่อไหร่ที่จำได้ก็จะกลับบ้าน สำหรับชุดนักร้องที่นำติดตัวมาด้วย ก็นำไปฝังไว้ที่หลังวัด เมื่อถึงเวลาอาบน้ำเธอก็จะไปอาบที่ด้านหลังวัด ซึ่งเป็นที่ลับ ไม่มีคนเดินผ่าน ตอนอยู่ที่วัดไม่มีใครสงสัยเลยว่าเป็นผู้หญิง เพราะเธอไม่มีหน้าอก และรูปร่างก็ผอมดำ

เธอ อยู่ที่วัดโดยปลอมตัวเป็นผู้ชายอยู่นานทีเดียว จนร่างกายเริ่มโตเป็นสาว ก็จึงเริ่มรู้สึกผิดที่ไปหลอกพระ จึงคิดที่จะออกจากวัด และไปลาหลวงพ่อโดยบอกว่าคิดถึงแม่

ระหว่าง ที่ตามหลวงพ่ออกมาบิณฑบาตนั้น เธอก็พอที่จะจำถนนหนทางได้ และเล็งคาเฟ่เอาไว้แห่งหนึ่ง พอตกค่ำ อ้อยใจ ในสภาพผมสั้นเต่อ ก็เอาชุดนักร้องที่ฝังดินไว้มาแต่ง และระหว่างรอที่จะเข้าไปสมัครเป็นนักร้อง เธอได้เข้าไปถามลุงขายไข่ปิ้งหน้าคาเฟ่ว่าสวยไหม ก่อนที่ลุงจะอาสาพาเธอไปสมัครเป็นนักร้องเพราะรู้จักกับผู้จัดการหลังจากที่ ได้ฟังเสียงเพลงที่เธอร้องให้ฟัง แต่ปรากฏว่าคืนนั้นผู้จัดการไม่ยอมออกมาพบ ซึ่งก็น่าจะเป็นเพราะได้เห็นสภาพของเธอแล้วนั่นเอง

จากนั้นเธอก็ตระเวนสมัครเป็นนักร้องตามห้องอาหารและคาเฟ่ละแวกฝั่งธนบุรีเกือบ
10 แห่ง แต่ก็ไม่มีสักแห่งที่ตอบรับ จนมาถึงร้านสุดท้ายเป็นร้านมุงจากชื่อร้านเทพธิดาคาเฟ่ ก็ได้รับคำตอบแบบที่อื่น ๆ คือนักร้องเต็ม เหลือตำแหน่งล้างชาม เธอก็เลยตกลงรับเอาไว้ก่อน เพราะจะได้มีที่ซุกหัวนอน เธอทำอยู่นานหลายเดือน จนกระทั่งนักร้องขาด จึงมีโอกาสได้ขึ้นร้องเพลง เพลงแรกที่เธอร้องคือ น้ำตาเมียหลวง ของ ผ่องศรี วรนุช ตามด้วย นักร้องบ้านนอก ของพุ่มพวง ดวงจันทร์ วันนั้นเธอมีความสุขมากที่ได้จับไมค์เป็นครั้งแรก แถมได้พวงมาลัยจากแขกด้วย ในที่สุดเธอก็ได้เป็นนักร้องสมใจ และได้เงินเดือนเดือนละ 800 บาท

จาก นั้นก็ได้ไปเช่าบ้านอยู่ย่านสลัมคลองเตย และได้นำญาติพี่น้องมาอยู่ด้วย ระหว่างที่ทำงานร้องเพลงในตอนกลางคืน เธอก็ไม่ยอมปล่อยเวลาให้สูญเปล่า ด้วยการเปิดกิจ การขายอาหารอีสานอย่างส้มตำไปด้วย โดยเธอใช้วิธีหาบใส่บ่าเร่ขายไปตามตลาดปีนัง แม้รายได้จะไม่มากมายนัก แต่ก็พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องไปวัน ๆ

ต่อ มาก็มีคนติดต่อให้ไปร้องเพลงตามสถานที่ต่าง ๆ และมีโอกาสรู้จักกับณรงค์ รอดเจริญ ผู้บริหารบริษัทท็อปไลน์ ไดมอนด์ ซึ่งเป็นค่ายเทปชื่อดัง จึงได้รับการติดต่อให้ไปทดลองเทสต์เสียงที่บริษัท และตกลงเซ็นสัญญาเป็นนักร้องในค่าย จนได้ออกเทปชุดแรกเป็นแนวหมอลำที่เธอไม่ถนัดคือ ผัวฉันหาย ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ ก่อนที่บริษัทจะยอมเสี่ยงอีกครั้งในชุดเบรกแตกซึ่ง เป็นอัลบั้มที่สร้างความฮือฮาให้กับวงการเพลงอีสานอย่างมากในยุคนั้น ซึ่งแม้ยอดขายเทปจะพุ่ง แต่เธอบอกว่าชีวิตก็ยังจนเหมือนเดิม เพราะงานนี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายคน เงินที่ได้มาก็ต้องแบ่งๆกันไป

แต่ อัลบั้มชุดต่อ ๆ มา ก็กลับไม่ดังอย่างที่คาดคิด ทำให้เกิดผลกระทบมากมายในชีวิต เนื่องจากพอยอดขายไม่วิ่ง ทำให้ไม่ค่อยมีงานร้องเพลง รายได้ที่เคยมีก็เริ่มหด แต่ภาระเลี้ยงดูคนในครอบครัวยังหนักอึ้ง ทำให้เธอจำเป็นต้องหาอาชีพเสริม เธอจึงผันชีวิตตัว เองอีกครั้งไปเป็นลูกจ้างทำอาหารกับชาวญวนอยู่ 2 ปี และต่อมาก็เป็นวิชาความรู้ที่ได้อาศัยนำมาเลี้ยงชีพอยู่ในปัจจุบันนี้นั่นก็คือแหนมสดข้าวทอด
แต่ ชะตากรรมยังซ้ำเติมไม่เลิก พอขายดีจนขยับขยายจากหาบขึ้นสู่แผง สุดท้ายก็มีอันต้องระเห็จกลับไปที่จุดเดิม เนื่องจากถูกเจ้าของแผงเอาแผงคืน จึงหันไปใช้วิธีการหาบขายอีก ขายหมดประมาณ 4-5 โมงเย็น กลับมานอน ตื่นมาประมาณ 3-4 ทุ่ม ก็ออกมาวิ่งรอกร้องเพลงคาเฟ่ต่อ

อ้อยใจยังคงผลิตผลงานเพลงออกมาบ้าง แต่ไม่ได้รับการพูดถึงนัก งานรับจ้างร้องเพลงก็มีไม่มาก ปัจจุบัน เธอย้ายไปขายที่พุทธมณฑลสาย 4 ซึ่งเป็นบ้านของน้องชาย โดยเริ่มขายตั้งแต่ 5 โมงเย็น กว่าจะเลิกก็ดึก รายได้ก็แค่พออยู่ได้ แต่ก็คิดว่าดีกว่าการจะนั่งรอให้คนมาจ้างไปร้องเพลง
ครั้งหนึ่งเธอเคยบอกว่าชีวิต คนเราเมื่อมีขึ้นก็ย่อมมีลง ไม่มีใครกำหนดชะตากรรมได้ คนทุกคนก็ย่อมมีฝัน เพียงแต่เราอย่าท้อแท้ แม้จะไม่มีงานจ้างร้องเพลงเข้ามาก็ไม่เคยคิดมากอะไร เพราะเรารู้ตัวเองอยู่แล้วว่าอายุมากแล้ว แต่อาชีพนักร้องยังไงก็เป็นอาชีพที่อ้อยใจชอบและภาคภูมิใจมาก เราไม่มีความรู้อะไรมากมายแต่ทำมาได้ขนาดนี้ก็ถือว่าดีมากแล้ว

ฮันนี่ ศรีอีสาน




ประวัติ

สุ พิณ เหมวิจิตร หรือ ฮันนี่ ศรีอีสาน เป็นบุตรสาวคนสุดท้ายของนายคำทา และนางมี มีพี่น้องทั้งหมด 14 คน เธอเกิดที่ บ้านเมย ตำบลดงริม อ. กมลาไสย จ. กาฬสินธุ์ จบการศึกษาแค่ชั้น ป.6 เมื่อปี 2521 จากโรงเรียนเมยประชาพัฒนาด้วย ใจรักในชีวิตศิลปิน ปี 2529 ขณะอายุ 16 ปี ก็ได้เข้าสู่วงการหมอลำ เป็นนางเอกหมอลำยอดนิยมอยู่หลายคณะ เช่น ดอกฟ้ามหากาฬ , เลิศฟ้าพรสวรรค์ และอื่นๆและการที่มีหน้าตาคล้ายกับ ฮันนี่ ภัสสร บุญเกียรติ เธอจึงใช้ชื่อในการแสดงว่าฮันนี่ ศรีอีสาน

25 ม.ค. 2534 เธอได้พบกับบริษัท เยนาวี่ โปรโมชั่น และบันทึกเสียงชุดแรกชื่อ " น้ำตาหล่นบนที่นอน " ด้วยสุ้มเสียง ที่เป็นเอกลักษณ์ และแนวการลำที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน ทำให้เธอประสบความสำเร็จอย่างมาก ต่อมาวันที่ 8 ต.ค. 2534 ก็มีผลงานชุด " วอนพี่มีรักเดียว " ตามมาอีก ผลงานทั้งสองชุดได้รับการต้อนรับอย่างดีจากแฟนเพลงทั่วประเทศ ฮันนี่ ศรีอีสาน จึงได้เปิดวงของตนเองตามคำเรียกร้องของแฟนเพลง จวบจนถึงบั้นปลายของชีวิตฮันนี่ ศรีอีสาน เสียชีวิต ขณะกลับจากการแสดงที่ อ. ปรางกู่ จ. ศรีสะเกษ เมื่อรถยนต์ที่นั่งอยู่เกิดพลิกคว่ำ ที่ถนนศรีสะเกษ - อุบลราชธานี กม.ที่ 5 - 6 ต.หนองแก้ว อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันพุธที่ 26 ก.พ. 2535 เวลา ตี 4.30 รวมอายุ 21 ปี 4 เดือน 4 วัน และปัจจุบัน จุดที่ฮันนี่ ศรีอีสาน ประสบอุบัติเหตุ มีการสร้างศาลไว้เป็นที่ระลึกถึงการจากไปของเธอ และในวันครบรอบการเสียชีวิตของเธอ ก็จะมีการจัดการแสดงคอนเสิร์ตเป็นประจำด้วย

รวมชีวิตของการอยู่ในวงการเพลงระดับชาติแค่ 1 ปีเท่านั้น
หลังการเสียชีวิต ทางต้นสังกัดได้จัดทำเทปชุดบันทึกการแสดงสดด้านหน้าเวทีของฮันนี่ ศรีอีสานออกมาอีก1 ชุดฮัน นี่ ศรีอีสาน ถือเป็นต้นแบบของนักร้องดังแห่งยุค อย่างต่าย อรทัย ที่ฝีกร้องเพลงด้วยการร้องเพลงของฮันนี่ ศรีอีสาน และสามารถร้องเพลงของเธอได้ทุกเพลง และถือว่าฮันนี่ ศรีอีสาน เป็นอาจารย์ที่อยู่ในดวงใจคนหนึ่ง และพอไหว้และระลึกถึงทุกครั้งก็จะทำให้การแสดงลุล่วงไปได้ไม่มีอุปสรรค์ใดๆ และถือเอาแนวของฮันนี่ ศรีอีสาน เป็นแบบอย่างในการร้องเพลง ไม่ว่าจะร้องหรือลำ

ผลงานเพลง


1.น้ำตาหล่นบนที่นอน 2.วอนพี่มีรักเดียว 3.สาวกาฬสินธุ์สิ้นหวัง 4.สาวนาผวารัก 5.ขอแล้วไม่แต่ง 6. เขาแต่งเราตรม 7.ฝันรักฝันร้าย 8. สงครามกับความรัก 9.หนุ่มภูเขียวเบี้ยวสาวชุมแพ 10.รักคนหัวล้าน 11.จดหมายย้ายที่อยู่ 12.ส่วนเกินบังเอิญช้ำ 13.ยากมากที่เธอจะสงสาร 14.เลิกรักเลิกรอ 15.รักสองแผ่นดิน

ศรีไพร สารีวงษ์




ประวัติ

อัศว รักษ์ พิทยาธนพล หรือ ศรีไพร สารีวงษ์ มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 25 หมู่ 3 ต.ซับเปิบ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน ของนายบุญเติม และนางพรวน พละพล ที่ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรสวนมะขามหวาน และเปิดร้านขายของชำ เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิชาเอกฟิสิกส์
ศรีไพร บอกว่าเขาชอบดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ลุงของเขาคนหนึ่งก็เป็นลิเก และทั้งบ้านชอบเสียงเพลงกันหมด เขาฟังเพลงจากวิทยุทรานซิสเตอร์มาตั้งแต่จำ ความได้ เพลงที่ครอบครัวฟังส่วนใหญ่จะเป็นเพลงอีสาน ส่วนเพลงลูกทุ่งก็ฟังเพลงของศรคีรี ศรีประจวบ , สายัณห์ สัญญา , พรศักดิ์ ส่องแสง , ยอดรัก สลักใจ เมื่อพี่ชายคนโตซื้อสเตอริโอมาฟัง ตอนนั้นเขาอายุประมาณ 14-15 ปี ก็ได้เริ่มฝึกการร้องเพลงอย่างเป็นจริงเป็นจังตามเสียงจากวิทยุ รวมทั้งจากเทปนักร้องเก่าๆ ที่มีอยู่ที่บ้าน และเทปตลก เพราะอย่างคณะตลกจุ๋มจิ๋ม ก็มีคนที่ร้องเพลงเสียงดีหลายคนอย่างสีบาน ซุปเปอร์โจ๊ก และ พล พันลาว เขาก็จึงเริ่มฝึกลอกเลียนเสียงร้องของชาย เมืองสิงห์ตามอย่างตลก และเริ่มเข้าประกวดร้องเพลงเป็นจริงเป็นจังในงานวัด ที่ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ โดยตอนนั้นเขาซึ่งยังเรียนอยู่ชั้นมัธยม ได้ไปทำหน้าที่ขายบัตรเล่นเกมอยู่ในงาน พอดีในงานมีการประกวดร้องเพลง แม่ของเขารู้ข่าวจึงไปหาซื้อเสื้อให้สวมขึ้นประกวดร้องเพลงประกวด

เขา ทำได้ดีมากในการประเดิมเวทีประกวดร้องเพลง โดยรางวัลได้รับคือที่ 1 เป็นทีวีขนาด 14 นิ้ว ตอนขึ้นประกวด เขาร้องเพลงของยิ่งยง ยอดบัวงาม ที่ตอนนั้นกำลังดังมาก พอประสบความสำเร็จบนเวทีการประกวดครั้งนั้น เขาก็เริ่มเดินสายร้องเพลงประกวดไปอยู่ 2-3 จังหวัด เพื่อหารายได้มาช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว และส่งตัวเองเรียนด้วย

เมื่อ จบการศึกษาใหม่ๆ เขาเลือกทำในสิ่งที่ตัวเองรักและใฝ่ฝัน คือมุ่งสู่การเป็นนักร้องอย่างจริงจัง ด้วยการเข้าประกวดร้องเพลง สุดท้ายแล้วเขาได้เข้ามาประกวดรายการชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ ชื่อโครงการจินตลีลาประกอบเพลงของช่อง 11 และได้รางวัลชนะเลิศอันดับ 3 เป็นถ้วยพระราชทานของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ และเงินรางวัลมาจำนวน 18,000 บาทเมื่อปี 2545 ต่อมาก็ได้รับรางวัลในการประกวดเงาเสียงของ ยิ่งยง ยอดบัวงาม ที่จัดโดยลูกทุ่งเอฟเอ็ม

จาก นั้นก็มีโอกาสได้ไปเป็นพิธีกรวงดนตรีอินทรีอีสาน แต่อยู่ร่วมงานกับทางวงได้แค่ 2 เดือนก็ต้องออกจากคณะเนื่องจากทางบ้านมีปัญหา เมื่อพี่ๆเข้ามาทำงานที่กรุงเทพฯ จึงไม่มีใครช่วยพ่อแม่ทำสวนมะขาม เขาจึงต้องกลับมาอยู่บ้าน แต่อยู่ได้ระยะหนึ่งก็พบกับจ่าถนอม บุญเพ็ญ ซึ่งพามารู้จักกับอาจารย์จรัญ สารีวงษ์ โปรดิวเซอร์เพลงชื่อดัง จากนั้น เขาก็ได้ส่งเทปเดโมมาให้อาจารย์จรัญพิจารณา ซึ่งก็นับว่าเป็นโชคของเขาเพราะ ช่วงนั้นอาจารย์จรัญกำลังต้องการนักร้องเสียงอีสาน และก็รู้สึกชอบเสียงแหบๆของเขา โดยบอกว่าเขามีเสียงเหมือนใบไม้แห้งๆ เหมาะกับแคน และโหวด และตลาดอีสานช่วงนั้นกำลังบูม อาจารย์จึงพามาฝากบริษัทแมงป่อง และเมื่อมาเจอกับคุณกิตติ์ยาใจ ที่ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น นรินทร์รัตน์ นันนนท์ แห่งสังกัดป่องทรัพย์ จำกัด (มหาชน) เขาก็ได้รับการบรรจุเข้ามาเป็นศิลปินเบอร์แรกของค่ายเลย และปัจจุบันมีอัลบั้มออกมา 3 ชุดแล้ว คือ"ใจก่อการร้าย" , "ขายด่วน" และ "นอนกอดตัวเอง"

สนธิ สมมาตร




ประวัติ

ไพฑูรย์ ทุมวงศ์ หรือ สนธิ สมมาตร เกิดเมื่อปี 2495 ที่บ้านทุ่ง ต.แดงหม้อ ปัจจุบันขึ้นอยู่กับ ต.นาคำใหญ่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธาน โดยเป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัว เมื่อปี 2512 ขณะกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรีทองวิทยา ที่ จ.อุบลราชธานี สนธิ ก็หยุดเรียนกลางคันและเดินทางเข้ากรุงเทพฯแบบไม่รู้จักใครเลย โดยมีความหวังลึกๆว่าจะมาเป็นนักร้อง

เมือง หลวง สนธิ เข้าทำงานในโรงงานทำเก้าอี้บุนวม ระหว่างที่โรงงานส่งไปซ่อมเก้าอี้ที่โรงภาพยนตร์เมโทร ย่านประตูน้ำ ก็ได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกับผู้จัดการโรงภาพยนตร์ และเอ่ยปากขอร้องว่าหากมีวงดนตรีมาเปิดการแสดงที่นี่ ขอให้ช่วยฝากฝังเขาเป็นนักร้องด้วย ต่อมาสนธิ สมมาตร ลาออกจากโรงงานทำเก้าอี้มาเป็นบริกรย่านถนนเพชรบุรี และก็ได้เริ่มเข้าประกวดร้องเพลงตามงานวัดแถวนั้น ในปี 2515 เขาชนะการประกวดร้องเพลงที่วัดอุทัยทารามจากเพลงในแนวเสียงของทูล ทองใจ และมีโอกาสเข้าเป็นนักร้องในวง “181 คอมโบ้” โดยได้รับค่าตัวครั้งละ 20 บาท แต่เดือนหนึ่งมีงานแค่ 1-2 ครั้ง แต่ในปีเดียวกันนั้น ผู้จัดการโรงภาพยนตร์เมโทรก็มาเรียกตัวเขาไปพบกับขวัญจิต ศรีประจันตที่ มาเปิดการแสดงที่โรงภาพยนตร์ และได้เป็นนักร้องประจำวงตามที่หวัง โดยใช้ชื่อว่า คม คีรีบูน ที่เขาเป็นคนตั้งเอง จากความชื่นชอบเป็นการส่วนตัวต่อชื่อ คม ขวัญแก้ว นักร้องคนหนึ่งในวงสุรพล สมบัติเจริญ ส่วนคีรีบูนนั้น เขาก็ว่าเป็นนกที่ได้ชื่อว่ามีเสียงไพเราะที่สุด

ปีถัดมา สนธิ มีโอกาสบันทึกเสียงเป็นครั้งแรกในเพลง “ ฟ้าร้องที่หนองหาร “ และ “รักเหลือเดน” ผลงานการประพันธ์ของ ทอง ธนาทิพย หรือ ทอง ธาราทิพ ซึ่งเพลงแรกนั้นก็เป็นที่ชื่นชอบของแฟนเพลงอย่างน่าพอใจ ปี 2517 ทอง ธนาทิพย์ ทำให้สนธิ สมมาตรโด่งดังมากขึ้นไปอีกจากเพลง “ ออกพรรษาที่เชียงคาน “ และจนถึงปัจจุบันเพลงนี้ก็มักถูกนำมาใช้ในงานบุญเทศกาลของ อ.เชียงคานอยู่เป็นประจำ

ปี 2518 สนธิ สมมาตร ลาออกจากวงขวัญจิต ศรีประจันต์ และไปเก็บตัวอยู่ที่เชียงใหมอย่าง เงียบๆร่วมครึ่งปีโดยให้เหตุผลว่า ไปตามที่ใจอยากไป แต่ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ได้ไปเรียกตัวเขากลับมา พร้อมกับทะยอยป้อนเพลงดังให้เขาอยู่เป็นระยะ ขณะที่ชื่อ คม คีรีบูน ถูกเปลี่ยนชื่อมาใช้สนธิ สมมาตร จวบจนถึงปัจจุบัน ตามคำแนะนำของครูเอง งานนี้ สนธิ สมมาตร กลับมาดังอีกครั้งด้วยเพลง “ ด่วน บขส.” ของครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา และ “ ลูกทุ่งคนยาก “ ของครูสุรินทร์ ภาคศิร เพลงเหล่านี้และเพลงอื่นๆทำให้สนธิ สมมาตร ผูกขาดเพลงหวานแนวอีสานไว้หมดสิ้นแบบไม่มีใครมาเทียบได้จวบจนถึงปัจจุบัน

เพลง ดังของเขาส่วนหนึ่งถูกนำไปเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง “ มนต์รัก “ ที่สร้างเมื่อปี 2521 โดยมีดาราดังอย่างสุริยา ชินพันธ์ เป็นพระเอก

สำหรับ สนธิ นั้น หลังความสำเร็จของภาพยนตร์ เขาก็หันมาตั้งวงดนตรีของเขาเอง และออกเดินสายแถวภาคอีสาน แต่ก็อยู่ได้แค่ปีกว่าๆก็ยุบวงไป สนธิ มีผลงานเพลงอยู่ค่อนข้างน้อย คือประมาณ 60 เพลงเท่านั้น ถ้าไม่นับการเอาเพลงเก่ามาขับร้องใหม่ นอกจากนั้นก็ยังเคยร่วมแสดงในภาพยนตร์เช่นเรื่อง “ สวรรค์บ้านนา “ และ “ดอกคูนเสียงแคน “

ออกพรรษา ที่เชียงคาน(ทอง ธนาทิพย์) , ด่วน บขส. (พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา) , ฟ้าร้องที่หนองหาร(ทอง ธนาทิพย์) , รักเหลือเดน(ทอง ธนาทิพย์) , ดอกจานบาน(พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา) , คืนลาอาลัย (ชลธี ธารทอง) , ลูกทุ่งคนยาก(สุรินทร์ ภาคศิริ) , แต่งงานกันเด้อ(สนิท มโนรัตน) , อีสานบ้านเฮา , ทิ้งใจไว้เมืองเลย , ดอกอ้อริมโขง , ทุ่งอีสาน , บ่ลืมอีสาน , ทุ่งกุลาร้องไห , แคร์ด้วยหรือน้อง , ลำครวญหวลไห้ , เป่าแคนกล่อมสาว , เป่าแคนเกี้ยวสาว , หนุ่มภูพาน ,หนุ่มนาช้ำรัก

ปัจจุบัน

เมื่อ 4 - 5 ปีก่อนสนธิ ป่วยเป็นเนื้องอกบริเวณกล่องเสียง ปัจจุบันรักษาหายเรียบร้อย แต่ก็ทำให้เขามีปัญหาเรื่องการร้องเพลงไม่ได้ดีเท่าเดิม ตอนนี้จึงเพลาการร้องเพลงไปมาก

นอกจากเรื่องเสียงแล้ว เขาก็ยังมีปัญหาเรื่องเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งก็เข้ารับการผ่าตัดบายพาสต์เรียยบร้อยแล้วเช่นกัน

สนธิ สมมาตร มีครอบครัวแล้ว โดยมีลูก 3 คน ซึ่งก็โตกันหมดแล้ว

แอร์ สุชาวดี




ประวัติ

แอร์ สุชาวดี มีชื่อจริงว่า ศิริพร พลนรา เกิดเมื่อ 1 ธันวาคม 2525 ที่ จ. นครราชสีมา เป็นบุตรนายวัชระและนางกันยารัตน์ พลนรา พ่อมีตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณคือปลัดอำเภอ อ.พระทองคำ จ. นครราชสีมา แม่ทำธุรกิจจัดสรรที่ดิน ปลูกบ้านจัดสรร จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 ร.ร.สุรนารีวิทยา สอบเอนทรานส์ ติดมหาวิทยาลัยอุบลราชธาน แต่สละสิทธิ เพราะต้องมาเป็นนักร้องอาชีพที่กรุงเทพฯ จึงมาสมัครเรียนที่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 “คณะบริหารธุรกิจ สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว แอร์ สุชาวดี มีน้าสาวแท้ๆคนหนึ่งชื่อ พรพรรณ วนาหรือ พรพรรณ หลานย่าโม เป็นนักร้องชื่อดังรุ่นเดียวกับ สุนารี ราชสีมา
เข้าสู่วงการ
แอร์ สุชาวดี คลั่งไคล้การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งอย่างมากมาตั้งแต่สมัยเรียนชั้น ม. 2 ประเภทรางวัลอะไรไม่สน ขอให้ได้ประกวด โดยมีน้าสาว พรพรรณ วนา ช่วยเหลือในการฝึกซ้อมร้องเพลง จนในที่สุดเมื่อเรียนอยู่ชั้น ม.6 เธอก็ชนะเลิศการประกวดร้องเพลงในโครงการ “ฟอร์ด เรนเจอร์ ออนทัวร์” ที่จัดประกวดขึ้นที่จังหวัด นครราชสีมา ภาพและประวัติของผู้ชนะเลิศทั้งฝ่ายหญิงและชาย จะได้รับการตีพิมพ์ลงในนิตยสารราชาเสียงเพลง เรื่องนี้ทำให้ทางทีมงานชัวร์ออดิโอได้อ่านเจอประวัติของเธอ และสนใจจึงได้ติดต่อให้มาเทสต์เสียง และได้เซ็นสัญญาเป็นนักร้องในสังกัดในที่สุด โดยหลังจากที่ฝึกร้องอยู่ 1 ปี จึงได้มีผลงานในชุด ชัวร์ ช่า ช่า ช่า 3 , 4 , 5 และ 6 ก่อนจะได้ออกผลงานเดี่ยว ที่โด่งดังอย่างมาก หลังจากนั้นทางต้นสังกัดเกิดมีปัญหากับศิลปินเรื่องของส่วนแบ่งรายได้ ที่ถูกยักยอกไปจากทางค่ายจึงได้หยุดร่วมงานกัน และรอมีผลงานชุดใหม่กับทางต้นสังกัดใหม่ในเร็วๆนี้
ผลงาน
ชุดที่ 1 ติด ร. วิชาลืม (2548)
ผลงานเพลงดัง
  • ติด ร. วิชาลืม (สลา คุณวุฒิ)
  • จะฝันถึงเธอ (วิเชียร คำเจริญ)

ผลงานกลุ่ม

  • ชัวร์ชะชะช่า ชุดที่ 3 (ต.ค. 45)
  • ชัวร์ชะชะช่า ชุดที่ 4 (ต.ค. 45)

ร่วมกับมนต์สิทธิ์ คำสร้อย ,ดำรง วงศ์ทอง , เกษม คมสันต , สมชาย ไทรงาม , ฝน ธนสุนทร ,อัมพร แหวนเพชร และ บุญตา เมืองใหม่

  • ชัวร์ชะชะช่า ชุดที่ 5 (ต.ค. 46)
  • ชัวร์ชะชะช่า ชุดที่ 6 (ต.ค. 46)

ร่วมกับเกษม คมสันต์ ,สมชาย ไทรงาม , สันติสุข มุกดาหาร , บุญตา เมืองใหม่ และ สุพรรษา มาภิรมย

  • จดหมายรักจากชัวร์ (ส.ค. 46)

ร่วมกับมนต์สิทธิ์ คำสร้อย , ดำรง วงศ์ทอง , เกษม คมสันต์ , สมชาย ไทรงาม ,ฝน ธนสุนทร และ บุญตา เมืองใหม่

เกียรติยศ
เพลงไทยลูกทุ่งหญิงยอดนิยม “รางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน ครั้งที่ 6” จากเพลง ติด ร. วิชาลืม เมื่อ 21 พฤษภาคม 2548

แอร์ สุชาวดี – ติด ร. วิชานักร้องปุณวรินทร์ พลนรา ( เปลี่ยนจากชื่อเดิม " ศิริพร พลนรา " ) หรือ แอร์ สุชาวดี เกิดเมื่อ 1 ธันวาคม 2525 เป็นชาว จ.นครราชสีมา มีชื่อเล่นว่าแอร์ จากการตั้งให้ของน้าสาว เพราะตอนเล็กๆชอบกินน้ำแข็ง เธอเป็นลูกคนเดียวของนายวัชระ และนางกันยารัตน์ พลนรา มาจากครอบครัวที่ค่อนข้างมีฐานะ เพราะผู้เป็นพ่อนั้น อดีตเป็นข้าราชการ โดยตำแหน่งสุดท้ายเป็นถึงปลัดอำเภอ อ.พระทอง จ.นครรา

ณวริ นทร์ พลนรา ( เปลี่ยนจากชื่อเดิม " ศิริพร พลนรา " ) หรือ แอร์ สุชาวดี เกิดเมื่อ 1 ธันวาคม 2525 เป็นชาว จ.นครราชสีมา มีชื่อเล่นว่าแอร์ จากการตั้งให้ของน้าสาว เพราะตอนเล็กๆชอบกินน้ำแข็ง เธอเป็นลูกคนเดียวของนายวัชระ และนางกันยารัตน์ พลนรา มาจากครอบครัวที่ค่อนข้างมีฐานะ เพราะผู้เป็นพ่อนั้น อดีตเป็นข้าราชการ โดยตำแหน่งสุดท้ายเป็นถึงปลัดอำเภอ อ.พระทอง จ.นครราชสีมา ส่วนแม่ทำธุรกิจจัดสรรที่ดิน ปลูกบ้านจัดสรร ขณะที่พรพรรณ วนา น้าสาวของเธอคนหนึ่งก็เป็นนักร้องชื่อดังคนหนึ่งของวงการลูกทุ่ง

ปัจจุบัน ศึกษาอยู่ ม.หอการค้า คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ ชั้นปี 4

แอร์ สุชาวดี ชอบการร้องเพลงลูกทุ่งมาตั้งแต่เด็ก โดยชื่นชอบสุนารี ราชสีมา มากเป็นพิเศษ สมัยเรียนชั้นประถม เมื่อทางโรงเรียนมีงาน ครูก็มักให้ขึ้นร้องเพลงเป็นประจำ ขณะที่ครอบครัวก็ให้การสนับสนุน เพราะต้องการให้ลูกได้แสดงออก พอเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เธอก็เริ่มเข้าประกวดตามงานต่างๆ และผ่านเวทีการประกวดร้องเพลงมาแล้วเกิอบ 100 เวที ก็มีที่ได้ทั้งที่ 1 และตกรอบ คละเคล้ากันไป แต่ไม่เคยได้ที่ 2 , 3 หรือ 4 เธอลุยประกวดไปทั่วเพียงเพราะหวังว่าจะมีแมวมองสายตาดีมาเจอ แต่ก็ยังไม่เจอสักที

จนใน ช่วงที่เรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เธอก็เข้าร่วมในการประกวดในโครงการ “ ฟอร์ด เรนเจอร์ ออน ทัวร์ “ ที่นครราชสีมา ซึ่งถือเป็นการประกวดรายการใหญ่ และก็ปรากฏว่าเธอเป็นผู้ชนะเลิศเสียด้วย

หลัง ชนะเลิศในรายการดังกล่าว นิตยสารราชาเสียงทอง ของสมชาย ทองขาว ได้มาสัมภาษณ์เพื่อนำข้อมูลลงตีพิมพ์ และทีมงานของบริษัทชัวร์ออดิโอ ได้มาอ่านพบเข้า และก็เกิดความสนใจ จึงติดต่อมาให้ไปลองเทสต์เสียงเพื่อเข้าเป็นนักร้องในสังกัด ซึ่งก็ปรากฏว่าเธอผ่านการทดสอบ ได้เซ็นสัญญาเข้าเป็นนักร้องในสังกัดชัวร์ออดิโอเมื่อปี 2544 ทำให้ต้องย้ายมาพักที่กรุงเทพฯเพื่อความสะดวกในการเดินทาง ก็เลยต้องสละสิทธิ์การเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่เธอสอบติด และมาสอบเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยหอการค้า

หลัง ฝีกร้องเพลงกับบริษัทราว 1 ปี แอร์ ก็มีผลงานออกมาหลายชุด แต่เป็นผลงานร่วมกันของนักร้องในค่ายหลายคน จนในที่สุดก็มีผลงานของตัวเองชุดแรกชื่อ “ ติด ร.วิชาลืม “ ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับเธออย่างมาก

แต่ จากปัญหาความไม่ลงรอยกับบริษัทเรื่องสิทธิประโยชน์ต่างๆ ทำให้บริษัทตัดสินใจดร็อพเธอในช่วงที่กำลังดังๆอยู่นั่นเอง และนั่นก็เป็นเหตุผลให้เธอต้องหายเงียบไปจากวงการนานถึง 4 ปี ทั้งๆที่ยังดัง

จนเมื่อปลาย ปี 2551 เมื่อเธอหมดพันธสัญญากับบริษัทเก่า เธอก็หันไปซบอกบริษัทรถไฟดนตรี และมีผลงานชุดที่ 2 ออกมาชื่อ " สาวไฮเซอร์ " ออกมา

นำเพลง " ติด ร.วิชาลืม " ผลงานของสลา คุณวุฒิ มาให้ฟังกันครับ

แต่ เดิมเพลงนี้ ทางบริษัทจะให้ฝน ธนสุนทร ร้อง แต่ฝ่ายผู้บริหารเปลี่ยนใจ เพราะเห็นว่าน่าจะเหมาะกับนักร้องที่เด็กลงมาหน่อย เนื่องจากเนื้อเพลงเป็นเรื่องของวัยรุ่นวัยเรียน แต่ปรากฏว่าฝน เรียนจบปริญญาโทไปแล้ว

ขณะที่แต่เดิม แอร์ สุชาวดี ก็จะได้ร้องเพลง “ ขอใช้สิทธิ์ “แต่เพลงนี้ก็ถูกโยกไปให้ฝน ธนสุนทร ร้องแทน


เอกราช สุวรรณภูมิ




นักร้องรางวัลมาลัยทองเพลงยอดเยี่ยม "กระเป๋าแบนแฟนทิ้ง"
เอกราช สุวรรณภูมิ หรือ ทัตธนาเดช ศรีนนท์ หรือ เอก เกิด 12 ธันวาคม 2512 เป็นลูกของนายปาน และนางบุญ ศรีนนท์ ชาวอำเภอสุวรรภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เขาเป็นคนที่ 11 ในจำนวนพี่น้อง 12 คน พ่อมีอาชีพตัดผม แม่เป็นอดีตนักร้องหมอลำ
การศึกษาเรียนสาขาพลศึกษาจากโรงเรียนพลประชานุกูล จ.ขอนแก่น แต่อยู่ ม.3 ก็หนีออกจากบ้านเข้ามากรุงเทพฯ เพื่อมาหาพี่สาวที่อาศัยอยู่แถวสุขุมวิท 22 ทั้งที่มีเงินไม่กี่บาท ด้วยความที่เข้ากรุงเทพฯ มาโดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลก่อน ดังนั้นจึงลำบากไม่ธรรมดา ที่นอนไม่มีต้องไปนอนใต้สะพานลอยตั้งแต่ลงจากรถ เจอยุงมหานครกัดน่วมตั้งแต่คืนแรก จากนั้นก็ใช้เท้าเดินไปตามหาพี่สาวจนเจอ
เมื่อมีที่อยู่แล้วจึงเริ่มทำงานหาเงิน อาชีพแรกคือเข็นรถขนมปังสังขยา ขาายแถวสยาม สะพานควาย เก็บเงินจนได้ 300 บาท จึงซื้อวิทยุมาฟัง เป็นสมบัติชิ้นแรกที่ภาคภูมิใจมาก ตั้งแต่นั้นระหว่างขายขนมปังจึงมีวิทยุฟังและฝึกร้องเพลงไปในตัว

อยู่มาวันหนึ่ง เอกร้องเพลงตามวิทยุอยู่หลังร้านด้วยเสียงอันดัง ทำให้เถ้าแก่ได้ยิน และชมว่า "เสียงดีนี่" เอกราชจึงบอกเถ้าแก่ว่า "ผมอยากเป็นนักร้อง แต่ไม่มีเงินไปสมัครที่ต้องมีชุดสูท" เถ้าแก่ใจดีให้เงินไปตัดสูทแล้วพาไปฝากร้องเพลงที่สวนอาหารให้ด้วย หลังจากร้องเพลงที่สวนอาหาร เอกก็คิดอยากร้องในคาเฟ่ใหญ่ แต่ก็ยังไม่กล้าเข้า จึงไปสมัครเป็นคนรับรถก่อน เพราะคนที่ได้ร้องเพลงที่สวนอาหาร ต้องผ่านการประกวดร้องเพลงมาแล้วทั้งนั้น เขาจึงจะรับ ระหว่างที่เป็นเด็กรับรถอยู่นั้น เอกก็จะร้องเพลงไปด้วย จนผู้จัดการที่ดูแลนักร้องเดินออกมาข้างนอกและได้ยิน จึงแนะนำว่าน่าจะไปร้องเพลง ไม่น่ามารับรถแบบนี้ เอกจึงฉวยโอกาสตรงนั้นเอาไว้

หลายปีกับการสั่งสมประสบการณ์ในการร้องเพลง จนความสามารถไปเข้าตา อ.พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิต นักเรียบเรียงเสียงประสาน จึงชักชวนไปประกวดเข้าค่ายแกรมมี่ฯโกลด์ ที่เพิ่งเปิดใหม่ และ เอก ก็ชนะเลิศได้ที่ 1 (สมัยเดียวกับไมค์ ภิรมย์พร) แล้วเซ็นสัญญาเข้าสังกัด แกรมมี่โกลด์ ซึ่งใช้นามว่า "เอกราช สุวรรณภูมิ" มีผลงานเพลงกับแกรมมี่โกลด์ ๓ ชุด คือ ชุด "แผลในใจ" ที่มีเพลงสร้างชื่อ คือ เพลง "กลับมาทำไม" ชุด ที่ ๒ คือ ชุด น้ำตาดาว ชุดที่ ๓ คือ ชุดร้องไห้สองหน จากนั้น เอก ก็หมดสัญญากับทางค่าย แกรมมี่โกลด์ รวมระยะเวลา ๖ ปี

จากนั้น เอกราช ก็หันมาเซ็นสัญญากับค่ายน้องใหม่ คือ บริษัทนพพงศ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และมีผลงานชุดแรก คือ กระเป๋าแบนแฟนทิ้ง ซึ่งได้วางแผงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2543 แฟนเพลงทั่วประเทศให้การต้อนรับอย่างดียิ่ง และ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2544 ผลงานชุด กระเป๋าแบนแฟนทิ้ง ก็ได้รับรางวัล เพลงยอดเยี่ยม ในงาน ประกาศรางวัล "มาลัยทอง" ขณะเดียวกันเพลงนี้ ยังขึ้นสู่อันดับ 1 ของเพลงยอดนิยมทั้งคลื่น เอฟ.เอ็ม 95 และ คลื่นลูกทุ่ง เวทีไท 90

ในปี 2545 เอกราช มีผลงานชุดใหม่ ในชื่อชุด "สัญญา 5 บาท" ผลงานจากปลายปากกาของครู สลา คุณวุฒิ นักแต่งเพลงมือทองในยุคปัจจุบัน ผู้ที่เคยเขียนเพลง "กระเป๋าแบนแฟนทิ้ง" ให้เอกราชโด่งดังมาแล้ว โดยได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา มีผลงานละครทีวีด้วยเรื่อง "รวมพลคนใช้" ที่แพร่ภาพทางช่อง 3

ยิ่งยง ยอดบัวงาม




ประวัติ

ยิ่ง ยง ยอดบัวงาม มีชื่อจริงว่า ประยงค์ บัวงาม เป็นบุตรนายพลอย นางใน บัวงาม เกิดเมื่อ 25 ธ.ค. พ.ศ. 2505 ที่บ้านเลขที่ 39 หมู่ 3 บ้านโคกโพน ต.กันทรารมย อ. ขุขันธ จ. ศรีสะเกษ ในครอบครัวเกษตรกรที่มีฐานะยากจน หาเช้ากินค่ำ ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาเรียนหนังสือ เมื่อต้องออกไปทำงานช่วยครอบครัว จึงต้องเรียนซ้ำชั้น ยิ่งยงมีพี่น้อง 5 คน สมัยเรียนอยู่ชั้น ป.3 หลังจากที่ได้ดูหนังเรื่อง " นักเลงสามสลึง " ยิ่งยงเริ่มชอบร้องเพลง และพอถึง ป.6 ก็เริ่มประกวดร้องเพลง หลังจบ ป.6 ยิ่งยงได้บวชเป็นสามเณร และระหว่างที่มาเที่ยวที่กรุงเทพ ก็ได้พบกับ "ภมร อโนทัย " นักแต่งเพลง และนักจัดรายการวิทยุชื่อดังเป็นครั้งแรก

ด้วย ความช่วยเหลือของพระที่วัดยิ่งยงบวช สามเณรยิ่งยงได้เรียนต่อจนจบชั้น ม.3 ที่โรงเรียนขุขันราษฎร์บำรุง และลาสิกขาบทในปี 2524 เพราะหลงใหลในเสียงของสายัณห์ สัญญา จนถึงกับแอบร้องเพลงอยู่บ่อยๆช่วงที่เป็นเณร จากนั้นก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และมาฝากเนื้อฝากตัวกับภมร แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับ จึงไปทำงานเป็นจับกัง และรับจ้าง ก่อนจะกลับบ้านเมื่อท้อแท้ หลังจากหายท้อ เขาก็ลงมากรุงเทพฯอีก โดยไปสมัครเป็นนักร้องตามวงดนตรีต่างๆ และได้ไปอยู่กับวงของคนที่ยิ่งยงเรียกว่า " เจ๊หมวย " และเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า " เสียงสน มนต์ไพร " จากการตั้งให้ของ " บรรจง มนต์ไพร "

ได้อัดแผ่น

ยิ่ง ยง อยู่กับเจ๊หมวยราว 6 เดือนก็ลาออกเพราะไม่มีงาน เขากลับไปหาภมรอีก ซึ่งภมรก็ได้หางานประเภททำงานบ้านทำสวน แต่เขาก็ทำได้เพียง 2 เดือนก็ลาออก และมาพักช่วยงานภมรอยู่ที่ ถา นีวิทยุกรมทหารรักษาดินแดน เขาทำอยู่ที่นี่ได้ 2 ปี ในปี 2528 ภมร ก็ให้เพลงยิ่งยงมาบันทึกเสียง 2 เพลง คือ " ไอ้หนุ่มเลี้ยงควาย " และ "รัก รัก รัก " ที่ภมร อโนทัย แต่งให้ " ศิริ สินชัย" แต่ศิริร้องไม่ถูกใจ โดยเพลง " ไอ้หนุ่มเลี้ยงควาย " แต่เดิม ภมรตั้งใช้จะให้ใช้ชื่อว่า " สัญญารักมั่น " หลังบันทึกเสียงเสร็จ ภมร ตั้งชื่อให้กับนักร้องใหม่ว่า ยิ่งยง ยอดบัวงาม

หลังจาก ที่เพลงของยิ่งยงถูกเปิดทางวิทยุ คนในวงการหลายคนก็เริ่มถามหาคนที่ร้องเพลงเหล่านี้ และระหว่างที่เพลงเริ่มเป็นที่รู้จัก วันชนะ เกิดดี ก็ได้มาติดต่อให้ยิ่งยงไปร้องเพลงที่คาเฟ่แทนเขา ที่ติดธุระทำผลงานเพลงชุดใหม่ และหลังยิ่งยงได้เข้ามาทำงานที่สถานีวิทยุรักษาดินแดนเต็มตัว เขาก็ถือโอ กาสนำผลงานเพลงของตัวเองออกเผยแพร่ทางวิทยุอยู่บ่อยๆ ต่อมาวันหนึ่ง เจ้าหน้าที่ที่คุมสถานี จส.2 พุนพิน จ.สุราษฎร์ธาน ได้มีโอกาสฟังเพลงของยิ่งยง ก็เกิดชอบใจ และตกลงเป็นนายทุนตั้งวงดนตรีให้ โดยให้ค่าร้องเขาคืนละ 3,000 บาท ทำให้ภมรต้องเร่งทำเพลงเพิ่มให้ยิ่งยงอีก 8 เพลง ก่อนจะนำมารวมตัดเป็นแผ่นใหญ่ใช่ชื่อว่า " ไอ้หนุ่มเลี้ยงควาย " นับเป็นผลงานชุดแรกของยิ่งยง จากนั้นก็ตามมาด้วยชุด " วิมานรัก " , " ขอบคุณแฟนเพลง " , และ " หนุ่มชาวเรือ "

เดินสาย
หลังเพลงเริ่มติดตลาดทางใต้ ยิ่งยงก็ออกเดินสายทางใต้ และได้รับการต้อนรับเป็นอย่าง ยิ่งยงเดินสายอยู่ราว 6 เดือนก็หยุดวง พร้อมกับมีปัญหากับภมร เรื่องเงินๆทองๆ จากนั้นเขาหันกลับมาร้องเพลงตามคาเฟ่อีกประมาณครึ่งปี พอดี เอกพจน์ วงศ์นาคจะเปิดวง เด๋อ ดอกสะเดา จึงชวนไปอยู่วงเอกพจน์ จากนั้นก็ออกเดินสายกับสายัณห์ สัญญา และพุ่มพวง ดวงจันทร์ หลังจากที่หมดสัญญากับต้นสังกัดเดิม ยิ่งยงก็กลับไปหา ภมรอีกครั้ง
ตำนานสมศรี

จาก นั้นทั้งสองก็ตั้งหน้าตั้งตาผลิตผลงานเพลงชุดใหม่ โดยในชุดนี้ ยิ่งยงได้แสดงฝีมือการแต่งเพลงด้วยเพลงหนึ่งชื่อว่าเพลง " ยิ่งยงมาแล้ว " ระหว่างนั้น ยิ่งยงได้พบกับ ปัญญา กตัญญ ที่เคยร้องเพลงตามคาเฟ่ด้วยกัน และปัญญา ได้มอบเพลง " สมศรีขายตัว "ผลงานประพันธ์ของ วุฒิ วรกานต ให้ยิ่งยงเอาไปบันทึกเสียง หลังบันทึกเสียงเสร็จช่วงนั้นเป็นปี 2535 ภมรจึงเปลี่ยนชื่อเพลงนี้เป็น " สมศรี 1992 " และเป็นเพลงแรกของหน้า 2 เพราะไม่มีใครคิดว่ามันจะดังเป็นพลุแตกหลังจากนำออกเผยแพร่ตามสถานีวิทยุ

และ นับตั้งแต่นั้นมา ชื่อของยิ่งยง ก็เป็นชื่อของหนึ่งในนักร้องลูกทุ่งที่คนไทยรู้จักกันดี กระแสควมโด่งดังของเขา ทำให้มีการผลิตนักร้องลอกเลียนแบบ ชื่อ ยิ่งยง ยอดบัวบาน พร้อมกับผลงานเพลงชุด สมศรีไปญี่ปุ่น

ผลงานเพลงดัง
  • สมศรี 1992
  • ยิ่งยงมาแล้ว
  • ไอ้หนุ่มเลี้ยงควาย
  • ช่างทองร้องไห
  • อกหักเพราะรักเมีย
  • พูดให้รู้เรื่องบ้าง
  • หนุ่มสุรินทร์รักสาวสุราษฎร
  • ผมถูกปรักปรำ
  • กินยาผิดซอง
  • ขอเงินเมียไปเสียค่าห้อง
ผลงานการแสดง
  • บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม
  • 34-24-36 สวย...เด็ดอย่าบอกใคร
  • โกะจ๋า ป่านะโก๊ะ
  • เจาะเวลาหาโก๊ะ
  • เพลงดินกลิ่นดาว

นพดล ดวงพร




ประวัติ

นพดล ดวงพร (15 ธันวาคม พ.ศ. 2484 - ) มีชื่อจริงว่า ณรงค์ พงษ์ภาพ เกิดที่อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธาน บิดาเป็นหมอลำกลอน มารดาเป็นนักร้องเพลงโคราช

ณรงค์ พงษ์ภาพ เคยเป็นเด็กในวงดนตรีคณะพิพัฒน์ บริบูรณ์ นานหลายปี ต่อมาได้เป็นลูกศิษย์และร่วมวงดนตรีจุฬารัตนของครูมงคล อมาตยกุล ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อ นพดล ดวงพร ให้ ต่อมาได้แยกไปก่อตั้งวงดนตรี เพชรพิณทองที่โด่งดังในภาคอีสาน ในปี พ.ศ. 2514 ช่วงหลังเป็นนักแสดงภาพยนตร์และ ละครโทรทัศน์

ผลงานภาพยนตร์

  • วิวาห์พาฝัน
  • ครูบ้านนอก (2521) - รับบทเป็น ครูใหญ่คำเม้า
  • หนองหมาว้อ (2522)
  • 7 สิงห์ตะวันเพลิง (2522)
  • จับกัง กรรมกรเต็มขั้น (2523) - รับบทเป็น ด้วง
  • ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน (2523) - รับบทเป็น ไอ้จ้อย
  • นักสืบฮาร์ด (2525)
  • ครูข้าวเหนียว (2528)
  • คนกลางแดด (2530)
  • 15 ค่ำ เดือน 11 (2545) - รับบทเป็น หลวงพ่อโล่ห์
ผลงานละคร
  • โคกคูนตระกูลไข
  • เพลงรักริมฝั่งโขง (2550)
  • เรไรลูกสาวป่า (2551)
รางวัล
  • รับยกย่องให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2532
  • รางวัลสุพรรณหงส ประจำปี 2545 ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11

แมงปอ ชลธิชา




ประวัติ

แมง ปอ ชลธิชา มีชื่อจริงว่า พิมพ์พัชรา ทองแดง (เปลี่ยนจาก ชลธิชา เมื่อปี 2549) เป็นบุตรนายขวัญชัย นางพิศมัย ทองแดง เกิดเมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ที่จังหวัดขอนแก่น มีน้องชาย 1 คน แมงปอ ชลธิชา กำลังศึกษาอยู่ที่ คณะนิเทศศาสตรมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

แมงปอ ชลธิชา เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งหญิง ที่โด่งดังมาจากเพลง " สาว 16 " จากนั้นเธอก็มีผลงานเพลงออกมาหลายชุด และมีเพลงที่ติดหูผู้ฟังหลายเพลง

ผลงานเพลง
  • สาว16 (18 ตุลาคม 2543)
  • หนูกลัวตุ๊กแก(29 พฤษภาคม 2545)
  • ตามหาสมชาย(8 กรกฎาคม 2546)
  • แมงปอ รวมฮิต 12 เพลงดัง(1 ตุลาคม 2546)
  • แมงปอ รวมฮิต 14 เพลงดัง
  • นางสาวแนนซี่ (11 ตุลาคม 2548)
  • แม่ครัวหัวไข่(19 มกราคม 2549)
ผลงานเพลงดัง
  • ตามหาสมชาย
  • สาวนครชัยศรี
  • หนูกลัวตุ๊กแก
  • แม่ครัวหัวไข่
  • พี่หลวงอย่าลวงน้อง
  • สาว 16

พี สะเดิด



พีรพัฒน์ สวัสดิ์มูล หรือ พี สะเดิด เกิดเมื่อ 19 ตุลาคม ที่ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น มีชื่อเล่นว่า พี พ่อเป็นครู ส่วนแม่ค้าขาย พี สะเดิด เป็นคนที่ชอบศิลปะมาตั้งแต่เด็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปั้น และวาดรูป ตอน ป.6 และชั้น ม.2 เคยได้รับรางวัลชนะเลิศประกวดวาดภาพในโรงเรียนมาแล้ว

ขณะ เดียวกันเขาก็ยังชอบเล่นกีตาร์และร้องเพลงด้วย โดยเริ่มหัดเล่นกีต้าร์ด้วยตัวเองตั้งแต่ ป.6 เวลามีกิจกรรมมักจะได้เป็นตัวแทนขึ้นไปร้องเพลงและเล่นกีตาร์ให้เพื่อน ๆ และอาจารย์ในโรงเรียนฟังประจำ ศิลปินที่เขาชื่นชอบมากในช่วงนั้นก็คือ ปู พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ ตอนอยู่ ม.2 เคยขึ้นประกวดดนตรีร้องเพลงอยู่คนเดียวของ พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ มาแล้ว และหลังจากนั้นก็ยังได้เดินสายประกวดร้องเพลง และแข่งโฟล์คซองอีกหลายรายการ

หลัง จบชั้นมัธยม ได้เข้าศึกษาต่อในระดับ ปวช. ที่วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี แต่ก็ยังคงร้องเพลงและเล่นกีตาร์อยู่เป็นประจำ จนกระทั่งรวมกลุ่มกันกับเพื่อน ๆ ในวิทยาลัยตั้งวงดนตรีโฟลค์ซองขึ้นประกวด และได้ตำแหน่งชนะเลิศและรับรางวัลชนะเลิศระดับภาค

พี สะเดิด เรียนจบ ปวช. 3 และได้โควตาไปเรียนที่ อุเทนถวาย แต่เมื่อแม่รู้ว่าจะไปเรียนที่อุเทนถวาย ด้วยความกังวลและห่วงว่า ลูกชายจะมีเรื่องไปตีรันฟันแทงเหมือนเด็กอาชีวะในยุคนั้น ทำให้พี สะเดิด ต้องตามใจแม่ โดยไม่ไปเรียนที่นั่น

จาก นั้นก็มาทำงานสอนคอมพิวเตอร์ให้เด็กอนุบาลบ้าง ตัดสติกเกอร์ รับจ้างเขียนแบบ ทำโมเดล เขียนป้าย ออกแบบ และรับจ้างทั่วไป ก่อนที่จะไปเรียนช่างก่อสร้าง แล้วไปร้องเพลงตามห้องอาหาร จนถูกแมวมองชักชวนเข้าสู่วงการเพลง ได้เข้ามาเป็นศิลปินในสังกัด พีจีเอ็ม เร็คคอร์ด รับหน้าที่ตำแหน่งนักร้องนำ และมือกีต้าร์ในวงร็อคสะเดิด ผลิตผลงานแนวลูกทุ่งร็อคอีสานสนุกๆออกมารวม 5 ชุด อาทิ " ร็อคตลาดแตก " และอื่นๆ ซึ่งเพลงของพี ก็ได้รับความนิยมและโด่งดังจนกลายเป็นหนุ่มร็อคสะเดิด มียอดขายทุกอัลบั้มรวมกันกว่า 5 ล้านชุด และมีเพลงดังมากมาย เช่น สาวซำน้อย , มันมากับความเมา , กรึ๊บ , บั้งไฟแสนและอื่นๆ

แต่ ต่อมา มีเรื่องราวฟ้องร้องกันระหว่าง พี สะเดิด กับต้นสังกัด เมื่อทางนักร้องนำบอกว่า ทำผลงานมา 5 ชุดกลับได้ค่าเหนื่อยแค่ 220,000 บาท

หลัง หมดสัญญากับค่ายเดิม เขาก็ได้พบกับครูเพลงปากกาทอง สลา คุณวุฒิ ซึ่งครูสลา ก็ได้ชักชวนให้มาเป็นศิลปินนักร้องของแกรมมี่โกลด์ ในนาม พี สะเดิด โดยออกผลงานชุดแรกชื่อ หนอนเฝ้าไห ที่มีเพลงเด่นเช่น หนอนเฝ้าไห และนักร้องบ้านนอก แต่เสียงตอบรับค่อนข้างเงียบ เมื่อเทียบกับสมัยที่อยู่วงร็อคสะเดิด

แต่ ในชุดที่ 2 บ่มียี่ห้อ กลับมาแจ้งเกิดใหม่อีกครั้ง ด้วยเพลง สาวกระโปรงเหี่ยน และปัจจุบันก็ยังคงผลิตผลงานตามมาอีกหลายชุด เช่น บ่มียี่ห้อ, ดนตรีบ่มีปลั๊ก, ตีสองแล้วน้องสาว

ใน ปัจจุบันมีเพลงฮิตถูกใจแฟนเพลงมายมายเช่น สาวกระโปรงเหี่ยน, เอาใจช่วยด้วยแมสเสจ, บ่มียี่ห้อ , หนุ่มขอนแจ่น ,มักสาวซอนแลน, เมื่อชาติต้องการ และตีสองแล้วน้องสาว , จี่หอย และ อื่นๆ

ได้ รับรางวัลนักร้องชายยอดเยี่ยมและเพลงลูกทุ่งยอดเยี่ยม รางวัลมาลัยทองปี 2550 รางวัล STAR ENTERTAINMENT AWARD 2006 และ มหานครอวอร์ด